Loading color scheme

เชิญเข้าร่วม Webinar เรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและการเรียนรู้ ใน 6 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลจาก SEA-PLM 2019 “Child Well-being and Learning in Six Southeast Asian Countries: Insights from SEA-PLM 2019 Learning Evidence”

SEA PLM 20191 14 3 2566

          สำนักงานเลขาธิการซีมีโอโดยสำนักงานเลขาธิการโครงการ SEA-PLM จะจัด Webinar ในหัวข้อ “ความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและการเรียนรู้ ใน 6 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลจาก SEA-PLM 2019 -Child Well-being and Learning in Six Southeast Asian Countries: Insights from SEA-PLM 2019 Learning Evidence” ในวันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 14.00-16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์

          งาน Webinar นี้เกิดขึ้นจากรายงาน “What does SEA-PLM 2019 tell us about child well-being and learning in six Southeast Asian Countries?” จัดทำโดย UNICEF Innocenti และเผยแพร่โดย UNICEF EAPRO ภายใต้โครงการ SEA-PLM เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกในทัศนคติของเด็ก ทักษะอารมณ์และสังคม และความสัมพันธ์ในความเป็นอยู่ที่ดีกับผลการเรียนรู้ในระดับภูมิภาคผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้ทาง https://www.seaplm.org/ChildWellbeing/Reg

โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและ download รายงานฉบับนี้ ได้ตาม Link ด้านล่าง
01- Concept Note_SEA-PLM webinar on Child Well-being
02- UNICEF_ChildWellBeing_Learning_Report

          สรุปผลลัพธ์และข้อเสนอแนะจากรายงาน SEA-PLM secondary analysis report on “What does SEA-PLM 2019 tell us about child well-being and learning in six Southeast Asian Countries?”

คะแนนสูงในวิชา การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ มีผลมาจาก
- สภาพแวดล้อมที่บ้านที่ก่อให้เกิดสภาวะการเรียนรู้ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและการเข้าถึงหนังสือที่บ้าน
-ความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน – มีความเป็นเจ้าของ เข้ากับเพื่อนได้ง่าย รู้สึกปลอดภัย และได้เรียนรู้ในสิ่งที่มีประโยชน์จากโรงเรียน
- โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายในชุมชน สวน และสนามกีฬา
- เข้าถึงแหล่งน้ำและแหล่งซักล้างที่สะอาด

คะแนนต่ำในวิชา การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ มีผลมาจาก
- การพบเห็นความรุนแรงในโรงเรียน
- การเข้าร่วมในกิจกรรมการทำงานที่ปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ เช่น การทำฟาร์ม กิจการค้าขาย และงานที่ใช้กำลัง
- การขาดสารอาหาร

          เด็กในทุกประเทศมีความสนใจในและกังวลในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change)

          รายงานฉบับนี้ให้ข้อแนะนำว่า หน่วยงานของรัฐควรทำงานร่วมกันข้ามภาคส่วนเพื่อตอบสนองต่อ COVID-19 และสร้างสุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนต้องสนับสนุนการเรียนรู้ในช่วงที่สำคัญของชีวิตโดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการเรียน โดยมีแพลทฟอร์มให้เด็ก นักวิจัย ผู้ดูแล และผู้กำหนดนโยบาย ได้เข้าใจในมุมมอง ตอบสนองความต้องการและจัดทำนโยบายที่เป็นมิตรต่อเด็กรวมถึงโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดี

ข้อมูล : พงศกร รุทระวณิช
กุสุมา นวพันธ์พิมล
กลุ่มงานความร่วมมือระดับภูมิภาค
รายงานโดย : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
14 มีนาคม 2566