รายงานผลการเสวนาทางวิชาการหัวข้อ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : การจัดการความรู้กับก้าวย่างสู่อนาคต
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้จัดให้มีการเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : การจัดการความรู้กับก้าวย่างสู่อนาคต”เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมเอเชีย นั้น
วัตถุประสงค์ของการเสวนา : เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเปิดมุมมองทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการพัฒนาไปสู่การศึกษาวิจัย และการจัดทำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอันที่จะเป็นสื่อกลางทางปัญญาที่จะนำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
เนื้อหาของการเสวนา : มีดังต่อไปนี้
๑. สถานะทางความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย มีลักษณะที่พึงสังเกตได้ ๕ ประการ คือ
๑.๑ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการแบ่งขั้วแห่งความขัดแย้ง กล่าวคือ เป็นการแบ่งขั้วกันระหว่างขั้วของรัฐและขั้วของท้องถิ่น หรือระหว่าง Bangkok Centric และ Pattani Centric ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีวิธีคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน
๑.๒ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่เราได้ยินเป็นกระแสหลักนั้น เป็นไปเพื่อความชอบธรรมในการปฏิบัติการทางการเมืองและการทหารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อวัตถุประสงค์ของประวัติศาสตร์เป็นเช่นนี้ จึงทำให้ประวัติศาสตร์สามารถถูกบิดเบือนจากความเป็นจริงไปได้
๑.๓ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยได้ถูกนำไปร้อยรัดยึดโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้มีการปกปิดข้อมูลบางอย่าง โดยมิได้มีการกำหนดเพดานว่าควรจะปกปิดข้อมูลใดบ้าง หรือจะปกปิดในขอบเขตเพียงใด ซึ่งย่อมส่งผลให้การศึกษาประวัติศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวขาดความสมบูรณ์ไป
๑.๔ ประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มิได้ถูก monopolize โดยนักประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ได้ถูกนำไปผูกติดกับบริบทอื่นอีก เช่นในเรื่องของการเมือง การทหาร ความมั่นคงจริยธรรม คุณธรรม กลุ่มผู้ที่ได้เปรียบ กลุ่มผู้ที่เสียเปรียบหรือผู้ที่ถูกรังแก ทำให้เกิดเป็นประวัติศาสตร์แห่งความ
ทรงจำที่เลวร้ายและสร้างรอยบาดแผล นอกจากนี้ คู่กรณีของประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มิได้มีแค่ระหว่างกรุงเทพฯ กับ peripheral เท่านั้น แต่ยังได้ถูกยึดโยงไปกับกระแสการเมืองโลกหรือการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย
๑.๕ ในปัจจุบันแม้ว่าการศึกษาและงานเขียนงานวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ยังคงอ้างอิงและเชื่ออยู่กับงานเขียนของนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ โดยเฉพาะที่เป็นของอิบบราฮิม ชูกรี ค่อนข้างมาก โดยอาจไม่มีการตรวจสอบถึงหลักฐานที่มาที่ไปต่างๆ รวมทั้งยังขาดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านครอบคลุม ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีอคติ และเห็นถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีกลไกบางอย่างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกระบวนการการจัดการความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๒. ในเวทีเสวนาทางวิชาการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ไว้ ๕ ประการ ดังนี้
๒.๑ การศึกษาประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรจะต้องเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อบริบทเชิงประวัติศาสตร์ อย่างแท้จริง โดยมีการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลหลักฐานต่างๆ ให้มีความครอบคลุมในหลากหลายมิติ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะทำได้หรือไม่ และจะทำได้อย่างไร
๒.๒ ต้องมาพิจารณากันว่าเราควรจะจัดการกับข้อมูลและหลักฐานต่างๆ อย่างไร ทั้งนี้ โดยในชั้นต้นควรสนับสนุนให้คนเขียนประวัติศาสตร์กันให้กว้างขวาง มีการตีแผ่ชุดหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ออกมาเท่าที่จะเปิดเผยได้ รวมทั้งควรได้มีการเผยแพร่จัดพิมพ์งานศึกษา/วิจัยดีๆ ที่เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลหลักฐานนั้นๆ ได้ในวงกว้าง นอกจากนี้ยังควรเปิดโอกาสและเปิดเวทีให้สาธารณชนได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวด้วย
๒.๓ เนื่องจากปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่และมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่จะมีการวางระบบหรือหลักสูตรที่เกี่ยวกับปัตตานีศึกษาขึ้นมา เพื่อให้ทำการศึกษาวิจัย รวมทั้งมีการสร้างบุคลากรที่จะมาทำการศึกษา/วิจัย และเก็บรวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งฐานข้อมูลในเรื่องนี้
๒.๔ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคการทหารของไทยควรต้องมีการปรับเปลี่ยน mindset ในการมองปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ โดยต้องมองให้ข้ามพ้นไปจากกรอบความคิดในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งหากภาคส่วนต่างๆ สามารถที่จะทำเช่นนี้ได้ ก็จะทำให้เราสามารถมองปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยได้ในบริบทที่กว้างมากขึ้น
๒.๕ ควรมีการทำ ประวัติศาสตร์ทางเลือก กล่าวคือ ควรที่จะช่วยกันพิจารณาว่าเรื่องของประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นน่าจะมีทางเลือกมากกว่าสองทางเดิมๆ ได้หรือไม่ และงานวิจัยที่ผลิตออกมาก็ควรที่จะเสนอแนะทางเลือก/ทางออกให้กับการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น และควรต้องคิดอย่างครบวงจรด้วยว่าประวัติศาสตร์ทางเลือกจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนเพียงไรภายใต้สภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายในโลกปัจจุบัน ซึ่งการส่งผ่านประวัติศาสตร์ทางเลือกไปสู่สังคมในวงกว้าง น่าจะเป็นปัจจัยช่วยป้องปรามความรู้สึกแตกแยกที่เกิดขึ้นในสังคมได้
วัตถุประสงค์ของการเสวนา : เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเปิดมุมมองทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการพัฒนาไปสู่การศึกษาวิจัย และการจัดทำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอันที่จะเป็นสื่อกลางทางปัญญาที่จะนำไปสู่การรับรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
เนื้อหาของการเสวนา : มีดังต่อไปนี้
๑. สถานะทางความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย มีลักษณะที่พึงสังเกตได้ ๕ ประการ คือ
๑.๑ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นประวัติศาสตร์ที่มีการแบ่งขั้วแห่งความขัดแย้ง กล่าวคือ เป็นการแบ่งขั้วกันระหว่างขั้วของรัฐและขั้วของท้องถิ่น หรือระหว่าง Bangkok Centric และ Pattani Centric ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีวิธีคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน
๑.๒ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่เราได้ยินเป็นกระแสหลักนั้น เป็นไปเพื่อความชอบธรรมในการปฏิบัติการทางการเมืองและการทหารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อวัตถุประสงค์ของประวัติศาสตร์เป็นเช่นนี้ จึงทำให้ประวัติศาสตร์สามารถถูกบิดเบือนจากความเป็นจริงไปได้
๑.๓ ประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยได้ถูกนำไปร้อยรัดยึดโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้มีการปกปิดข้อมูลบางอย่าง โดยมิได้มีการกำหนดเพดานว่าควรจะปกปิดข้อมูลใดบ้าง หรือจะปกปิดในขอบเขตเพียงใด ซึ่งย่อมส่งผลให้การศึกษาประวัติศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวขาดความสมบูรณ์ไป
๑.๔ ประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มิได้ถูก monopolize โดยนักประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ได้ถูกนำไปผูกติดกับบริบทอื่นอีก เช่นในเรื่องของการเมือง การทหาร ความมั่นคงจริยธรรม คุณธรรม กลุ่มผู้ที่ได้เปรียบ กลุ่มผู้ที่เสียเปรียบหรือผู้ที่ถูกรังแก ทำให้เกิดเป็นประวัติศาสตร์แห่งความ
ทรงจำที่เลวร้ายและสร้างรอยบาดแผล นอกจากนี้ คู่กรณีของประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มิได้มีแค่ระหว่างกรุงเทพฯ กับ peripheral เท่านั้น แต่ยังได้ถูกยึดโยงไปกับกระแสการเมืองโลกหรือการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย
๑.๕ ในปัจจุบันแม้ว่าการศึกษาและงานเขียนงานวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ยังคงอ้างอิงและเชื่ออยู่กับงานเขียนของนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ โดยเฉพาะที่เป็นของอิบบราฮิม ชูกรี ค่อนข้างมาก โดยอาจไม่มีการตรวจสอบถึงหลักฐานที่มาที่ไปต่างๆ รวมทั้งยังขาดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านครอบคลุม ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีอคติ และเห็นถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีกลไกบางอย่างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกระบวนการการจัดการความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๒. ในเวทีเสวนาทางวิชาการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ไว้ ๕ ประการ ดังนี้
๒.๑ การศึกษาประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรจะต้องเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อบริบทเชิงประวัติศาสตร์ อย่างแท้จริง โดยมีการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลหลักฐานต่างๆ ให้มีความครอบคลุมในหลากหลายมิติ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะทำได้หรือไม่ และจะทำได้อย่างไร
๒.๒ ต้องมาพิจารณากันว่าเราควรจะจัดการกับข้อมูลและหลักฐานต่างๆ อย่างไร ทั้งนี้ โดยในชั้นต้นควรสนับสนุนให้คนเขียนประวัติศาสตร์กันให้กว้างขวาง มีการตีแผ่ชุดหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ออกมาเท่าที่จะเปิดเผยได้ รวมทั้งควรได้มีการเผยแพร่จัดพิมพ์งานศึกษา/วิจัยดีๆ ที่เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลหลักฐานนั้นๆ ได้ในวงกว้าง นอกจากนี้ยังควรเปิดโอกาสและเปิดเวทีให้สาธารณชนได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวด้วย
๒.๓ เนื่องจากปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่และมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่จะมีการวางระบบหรือหลักสูตรที่เกี่ยวกับปัตตานีศึกษาขึ้นมา เพื่อให้ทำการศึกษาวิจัย รวมทั้งมีการสร้างบุคลากรที่จะมาทำการศึกษา/วิจัย และเก็บรวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งฐานข้อมูลในเรื่องนี้
๒.๔ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคการทหารของไทยควรต้องมีการปรับเปลี่ยน mindset ในการมองปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ โดยต้องมองให้ข้ามพ้นไปจากกรอบความคิดในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งหากภาคส่วนต่างๆ สามารถที่จะทำเช่นนี้ได้ ก็จะทำให้เราสามารถมองปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยได้ในบริบทที่กว้างมากขึ้น
๒.๕ ควรมีการทำ ประวัติศาสตร์ทางเลือก กล่าวคือ ควรที่จะช่วยกันพิจารณาว่าเรื่องของประวัติศาสตร์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นน่าจะมีทางเลือกมากกว่าสองทางเดิมๆ ได้หรือไม่ และงานวิจัยที่ผลิตออกมาก็ควรที่จะเสนอแนะทางเลือก/ทางออกให้กับการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น และควรต้องคิดอย่างครบวงจรด้วยว่าประวัติศาสตร์ทางเลือกจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนเพียงไรภายใต้สภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายในโลกปัจจุบัน ซึ่งการส่งผ่านประวัติศาสตร์ทางเลือกไปสู่สังคมในวงกว้าง น่าจะเป็นปัจจัยช่วยป้องปรามความรู้สึกแตกแยกที่เกิดขึ้นในสังคมได้
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
กระทรวงศึกษาธิการ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕