ผลการเสวนาหัวข้อ ASEAN Connectivity : การเชื่อมโยงไร้พรมแดนอาเซียน...โอกาสและความท้าทาย
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมอาเซียน - ประเทศไทย ได้จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “ASEAN Connectivity : การเชื่อมโยงไร้พรมแดนอาเซียน...โอกาสและความท้าทาย”เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของการเสวนา : เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงศักยภาพ โอกาส และความท้าทายของประเทศไทยที่จะได้รับจากการเชื่อมโยงไร้พรมแดนอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนไทยสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘
เนื้อหาของการเสวนา มีดังต่อไปนี้
๑. มุมมองด้านการค้าและธุรกิจ
๑.๑ ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ อาเซียนมีอายุครบ ๔๕ ปีบริบูรณ์ ปัจจุบัน GDP ของกลุ่มอาเซียนคิดเป็นร้อยละ ๒.๖ ของ GDP รวมของโลก นอกจากนี้ ยังพบว่าทิศทางการค้าต่อไปอีก ๑๐ ปีข้างหน้าระหว่างเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) เอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกาจะเติบโตขึ้นอีกมาก ประมาณ ๒ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าทั้งหมดนี้จะต้องผ่านกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งในการรองรับการค้าที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว จึงได้มีการสร้างถนนหนทางต่างๆ เพื่อที่จะเชื่อมโยงการสื่อสารคมนาคมขนส่งในระหว่างอาเซียนด้วยกันเองให้มีความทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น
๑.๒ แนวโน้ม ๔ ประการ ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่
๑) คงต้องมี ระบบการเงิน ที่จะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินขึ้นในอาเซียน
๒) การมี ระบบโลจิสติกส์ ทั้งนี้ เพราะวิธีการทำการค้าของกลุ่มอาเซียนในอนาคตจะเป็นการทำการค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่รูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญ ก็คือ ไทยจะมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนี้หรือไม่เพียงใด
๓) ในเรื่องของ อาหาร : ประเด็นคือ จะเอาอาหารที่ไหนมาเลี้ยงคนที่มากถึง ๓ พันล้านคนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งถ้าหากบริหารจัดการไม่ดี อาจทำให้เกิดสงครามขึ้นได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีการบริหารจัดการกับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงการที่จะอนุรักษ์จัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วย
๔) ในเรื่องของ ความเหลื่อมล้ำ : ทุกครั้งที่มีความเจริญเกิดขึ้น มักจะมีความเหลื่อมล้ำตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของรายได้ ประเด็นสำคัญ ก็คือ ทำอย่างไรภูมิภาคเอเชียจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการทำการค้าและธุรกิจ โดยทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
๑.๓ การมารวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนย่อมส่งผลต่อทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ของแต่ละประเทศสมาชิกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นประเด็นที่เราต้องช่วยกันขบคิด ก็คือ เราจะวางตำแหน่ง (Positioning) ของประเทศไทยอย่างไรในการมารวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อที่จะให้ได้รับประโยชน์และได้รับผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด
๒. มุมมองด้านการทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
๒.๑ บทบาทของ SMEs ในระบบเศรษฐกิจโลก : SMEs จะเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจทั้งหมด โดย SMEs จะมีจำนวนมากถึงร้อยละ ๙๐ ของธุรกิจต่างๆ และจะครอบคลุมถึงร้อยละ ๗๐ ของการจ้างงานทั้งหมด ธุรกิจ SMEs จะมีความหลากหลาย เป็นแหล่งกำเนิดของนวัตกรรมต่างๆ เป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกแก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย และรายได้ของ SMEs จะเป็นหนทางหนึ่งในการขยายฐานภาษีต่อไป
๒.๒ โครงสร้างของ SMEs ไทย : ยังค่อนข้างมีศักยภาพจำกัดในการที่จะส่งสินค้าออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน SMEs ของไทยมักประสบกับสิ่งที่เรียกว่า “missing middle dilemma” กล่าวคือ ไม่สามารถพัฒนาจากความเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็กไปสู่ขนาดกลางได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนหรือขาดการพัฒนานวัตกรรม และแม้ว่า SMEs ของไทยจะส่งสินค้าไปขายยังกลุ่ม ASEAN+๖ ได้มากถึงร้อยละ ๖๐ ของการส่งออกทั้งหมด แต่สิ่งที่ควรพิจารณาต่อไปให้ชัดเจน ก็คือ ผู้ใช้สินค้าขั้นสุดท้าย (end users) เป็นกลุ่ม ASEAN+๖ หรือว่าเป็นกลุ่มที่อยู่ในยุโรป นอกจากนี้ SMEs ของไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากในการใช้ประโยชน์จาก ASEAN Economic Community (AEC) ซึ่งรัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ SMEs ในประเทศของตน เพื่อให้สามารถยืนหยัด มีนวัตกรรมที่ดีและมีขีดความสามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ ประเด็นที่ควรช่วยกันคิด ก็คือ มีการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานด้านการวิจัยเพียงพอหรือไม่ และจะทำอย่างไรให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อที่จะพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นต่อไป
๓. มุมมองด้านธุรกิจการบินพาณิชย์
๓.๑ จากตัวเลขสถิติ พบว่า จำนวนคนที่เดินทางเข้าออกในมาเลเซียโดยทางเครื่องบินมีสัดส่วนสูงสุดในอาเซียน รองลงมา คือ ไทยและสิงคโปร์ ตามลำดับ และปรากฏการณ์ใหม่ในระยะ ๑ ปีที่ผ่านมา ก็คือ จำนวนเที่ยวบินที่บินไปยังสหภาพพม่ามีจำนวนมากขึ้นอย่างน่าสังเกต และโดยเหตุที่ในการทำธุรกิจการบินพาณิชย์นั้น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงถือได้ว่าเป็นต้นทุนหลัก ดังนั้น การมองไปในอนาคต (projections) เพื่อที่จะสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์เข้ามาให้บริการ จึงต้องคิดถึงปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านรัดกุม
๓.๒ การสร้างสมดุลแห่งการรวมตัวของ ๑๐ ชาติสมาชิกอาเซียนเป็นสิ่งที่สำคัญมากและถือเป็นโจทย์ที่ยากที่จะทำให้เกิดขึ้น การรวมตัวเป็น AEC ถือได้ว่าเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ทั้งนี้ อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวรับมือได้ดีเพียงใด เราจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของตนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นมากน้อยแค่ไหน
๓.๓ คำว่า connectivity โดยอีกนัยหนึ่งนั้นหมายถึงระบบ logistics ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินพาณิชย์ สำหรับประเทศไทยนั้นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานไม่น่าจะมีปัญหา รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่จุดที่ไทยยังขาด ก็คือ เราไม่มีองค์กรนำที่จะมาดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
๔. มุมมองด้านวรรณกรรมและภาคประชาชน
๔.๑ ร้อยละ ๘๐ ของคนไทยที่ไม่อยากไปทำงานในต่างประเทศ เป็นเพราะเราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ประเด็นคำถาม ก็คือ เราจะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้คนไทยได้อย่างไรเพื่อให้เราสามารถได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC ได้เคยมีผู้เสนอแนะให้เราตั้งสถาบันภาษาอาเซียนขึ้น แต่สิ่งนี้น่าจะสายเกินไปแล้ว เราสมควรที่จะดำเนินการต่อยอดจากสิ่งที่เรามี ตัวอย่าง เช่น คนในภาคใต้ของไทยนั้นพูดภาษายาวีอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าจะให้เขาเรียนรู้ภาษาบาฮาซาที่ใช้ในกลุ่มประเทศมุสลิม ก็จะไม่ยากและเป็นการประหยัดเวลาด้วย
๔.๒ วรรณกรรมอาเซียน : นายประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ โดยเดินทางไปเยือนประเทศในอาเซียนและเขียนเป็นวรรณกรรม (นิยาย) เสร็จสิ้นไปแล้ว ๓ เรื่อง ขณะนี้เวียดนามได้ติดต่อขอแปลวรรณกรรมอาเซียนบางเล่มด้วย ซึ่งถือเป็นจุดริเริ่มที่ดีและสะท้อนให้เห็นว่าคนเวียดนามเริ่มสนใจประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางวรรณกรรมแล้ว ทั้งนี้ การอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน จะช่วยทำให้คนในประเทศต่างๆ ได้เรียนรู้ถึงความคิด ขนบประเพณีของกันและกัน มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น
๔.๓ ที่ผ่านมา เราได้ลองจัดวรรณกรรมสัมพันธ์ระหว่างสมาคมนักเขียนไทยกับสมาคมนักเขียนกัมพูชา และในปัจจุบันเรากำลังจัดทำวรรณกรรมสัมพันธ์กับเวียดนามอยู่ ซึ่งวรรณกรรมเพื่ออาเซียนเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้คนที่ไม่ชอบการอ่านตำราทางวิชาการสามารถที่จะเรียนรู้และรู้จักประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ได้มากขึ้น โดยอ่านผ่านวรรณกรรมต่างๆ ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของการเสวนา : เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงศักยภาพ โอกาส และความท้าทายของประเทศไทยที่จะได้รับจากการเชื่อมโยงไร้พรมแดนอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนไทยสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘
เนื้อหาของการเสวนา มีดังต่อไปนี้
๑. มุมมองด้านการค้าและธุรกิจ
๑.๑ ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ อาเซียนมีอายุครบ ๔๕ ปีบริบูรณ์ ปัจจุบัน GDP ของกลุ่มอาเซียนคิดเป็นร้อยละ ๒.๖ ของ GDP รวมของโลก นอกจากนี้ ยังพบว่าทิศทางการค้าต่อไปอีก ๑๐ ปีข้างหน้าระหว่างเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) เอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกาจะเติบโตขึ้นอีกมาก ประมาณ ๒ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าทั้งหมดนี้จะต้องผ่านกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งในการรองรับการค้าที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว จึงได้มีการสร้างถนนหนทางต่างๆ เพื่อที่จะเชื่อมโยงการสื่อสารคมนาคมขนส่งในระหว่างอาเซียนด้วยกันเองให้มีความทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น
๑.๒ แนวโน้ม ๔ ประการ ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่
๑) คงต้องมี ระบบการเงิน ที่จะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินขึ้นในอาเซียน
๒) การมี ระบบโลจิสติกส์ ทั้งนี้ เพราะวิธีการทำการค้าของกลุ่มอาเซียนในอนาคตจะเป็นการทำการค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่รูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญ ก็คือ ไทยจะมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนี้หรือไม่เพียงใด
๓) ในเรื่องของ อาหาร : ประเด็นคือ จะเอาอาหารที่ไหนมาเลี้ยงคนที่มากถึง ๓ พันล้านคนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งถ้าหากบริหารจัดการไม่ดี อาจทำให้เกิดสงครามขึ้นได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีการบริหารจัดการกับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงการที่จะอนุรักษ์จัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วย
๔) ในเรื่องของ ความเหลื่อมล้ำ : ทุกครั้งที่มีความเจริญเกิดขึ้น มักจะมีความเหลื่อมล้ำตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของรายได้ ประเด็นสำคัญ ก็คือ ทำอย่างไรภูมิภาคเอเชียจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการทำการค้าและธุรกิจ โดยทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
๑.๓ การมารวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนย่อมส่งผลต่อทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ของแต่ละประเทศสมาชิกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นประเด็นที่เราต้องช่วยกันขบคิด ก็คือ เราจะวางตำแหน่ง (Positioning) ของประเทศไทยอย่างไรในการมารวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อที่จะให้ได้รับประโยชน์และได้รับผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด
๒. มุมมองด้านการทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
๒.๑ บทบาทของ SMEs ในระบบเศรษฐกิจโลก : SMEs จะเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจทั้งหมด โดย SMEs จะมีจำนวนมากถึงร้อยละ ๙๐ ของธุรกิจต่างๆ และจะครอบคลุมถึงร้อยละ ๗๐ ของการจ้างงานทั้งหมด ธุรกิจ SMEs จะมีความหลากหลาย เป็นแหล่งกำเนิดของนวัตกรรมต่างๆ เป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกแก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย และรายได้ของ SMEs จะเป็นหนทางหนึ่งในการขยายฐานภาษีต่อไป
๒.๒ โครงสร้างของ SMEs ไทย : ยังค่อนข้างมีศักยภาพจำกัดในการที่จะส่งสินค้าออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน SMEs ของไทยมักประสบกับสิ่งที่เรียกว่า “missing middle dilemma” กล่าวคือ ไม่สามารถพัฒนาจากความเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็กไปสู่ขนาดกลางได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนหรือขาดการพัฒนานวัตกรรม และแม้ว่า SMEs ของไทยจะส่งสินค้าไปขายยังกลุ่ม ASEAN+๖ ได้มากถึงร้อยละ ๖๐ ของการส่งออกทั้งหมด แต่สิ่งที่ควรพิจารณาต่อไปให้ชัดเจน ก็คือ ผู้ใช้สินค้าขั้นสุดท้าย (end users) เป็นกลุ่ม ASEAN+๖ หรือว่าเป็นกลุ่มที่อยู่ในยุโรป นอกจากนี้ SMEs ของไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากในการใช้ประโยชน์จาก ASEAN Economic Community (AEC) ซึ่งรัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ SMEs ในประเทศของตน เพื่อให้สามารถยืนหยัด มีนวัตกรรมที่ดีและมีขีดความสามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ ประเด็นที่ควรช่วยกันคิด ก็คือ มีการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานด้านการวิจัยเพียงพอหรือไม่ และจะทำอย่างไรให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อที่จะพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นต่อไป
๓. มุมมองด้านธุรกิจการบินพาณิชย์
๓.๑ จากตัวเลขสถิติ พบว่า จำนวนคนที่เดินทางเข้าออกในมาเลเซียโดยทางเครื่องบินมีสัดส่วนสูงสุดในอาเซียน รองลงมา คือ ไทยและสิงคโปร์ ตามลำดับ และปรากฏการณ์ใหม่ในระยะ ๑ ปีที่ผ่านมา ก็คือ จำนวนเที่ยวบินที่บินไปยังสหภาพพม่ามีจำนวนมากขึ้นอย่างน่าสังเกต และโดยเหตุที่ในการทำธุรกิจการบินพาณิชย์นั้น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงถือได้ว่าเป็นต้นทุนหลัก ดังนั้น การมองไปในอนาคต (projections) เพื่อที่จะสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์เข้ามาให้บริการ จึงต้องคิดถึงปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านรัดกุม
๓.๒ การสร้างสมดุลแห่งการรวมตัวของ ๑๐ ชาติสมาชิกอาเซียนเป็นสิ่งที่สำคัญมากและถือเป็นโจทย์ที่ยากที่จะทำให้เกิดขึ้น การรวมตัวเป็น AEC ถือได้ว่าเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ทั้งนี้ อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวรับมือได้ดีเพียงใด เราจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของตนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นมากน้อยแค่ไหน
๓.๓ คำว่า connectivity โดยอีกนัยหนึ่งนั้นหมายถึงระบบ logistics ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินพาณิชย์ สำหรับประเทศไทยนั้นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานไม่น่าจะมีปัญหา รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่จุดที่ไทยยังขาด ก็คือ เราไม่มีองค์กรนำที่จะมาดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
๔. มุมมองด้านวรรณกรรมและภาคประชาชน
๔.๑ ร้อยละ ๘๐ ของคนไทยที่ไม่อยากไปทำงานในต่างประเทศ เป็นเพราะเราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ประเด็นคำถาม ก็คือ เราจะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้คนไทยได้อย่างไรเพื่อให้เราสามารถได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC ได้เคยมีผู้เสนอแนะให้เราตั้งสถาบันภาษาอาเซียนขึ้น แต่สิ่งนี้น่าจะสายเกินไปแล้ว เราสมควรที่จะดำเนินการต่อยอดจากสิ่งที่เรามี ตัวอย่าง เช่น คนในภาคใต้ของไทยนั้นพูดภาษายาวีอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าจะให้เขาเรียนรู้ภาษาบาฮาซาที่ใช้ในกลุ่มประเทศมุสลิม ก็จะไม่ยากและเป็นการประหยัดเวลาด้วย
๔.๒ วรรณกรรมอาเซียน : นายประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ โดยเดินทางไปเยือนประเทศในอาเซียนและเขียนเป็นวรรณกรรม (นิยาย) เสร็จสิ้นไปแล้ว ๓ เรื่อง ขณะนี้เวียดนามได้ติดต่อขอแปลวรรณกรรมอาเซียนบางเล่มด้วย ซึ่งถือเป็นจุดริเริ่มที่ดีและสะท้อนให้เห็นว่าคนเวียดนามเริ่มสนใจประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางวรรณกรรมแล้ว ทั้งนี้ การอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน จะช่วยทำให้คนในประเทศต่างๆ ได้เรียนรู้ถึงความคิด ขนบประเพณีของกันและกัน มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น
๔.๓ ที่ผ่านมา เราได้ลองจัดวรรณกรรมสัมพันธ์ระหว่างสมาคมนักเขียนไทยกับสมาคมนักเขียนกัมพูชา และในปัจจุบันเรากำลังจัดทำวรรณกรรมสัมพันธ์กับเวียดนามอยู่ ซึ่งวรรณกรรมเพื่ออาเซียนเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้คนที่ไม่ชอบการอ่านตำราทางวิชาการสามารถที่จะเรียนรู้และรู้จักประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ได้มากขึ้น โดยอ่านผ่านวรรณกรรมต่างๆ ดังกล่าว
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕