ผลการสัมมนาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ “ก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียน”
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ “ก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียน” เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์ของการสัมมนา : เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในมุมมองด้านศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งนำเสนอผลกระทบโดยเฉพาะโอกาสและข้อจำกัดทางธุรกิจในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกับงานด้านวัฒนธรรม ให้กับเครือข่ายผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป
เนื้อหาของการสัมมนา มีดังต่อไปนี้
๑. การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โอกาสของผู้ประกอบการวัฒนธรรมไทย”
๑.๑ The Three Blueprints (สามเสาหลักของอาเซียน) ประกอบด้วย :
• ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) : จุดเน้น ก็คือ ให้มีตลาดและฐานการผลิตเดียว เป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน มีการพัฒนาที่เท่าเทียม และสามารถบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
• ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint) : จุดเน้น คือ มีการพัฒนาทางการเมือง มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีความร่วมมือป้องกันทางทหารและความมั่นคงของอาเซียนเพื่อความสงบสุขเป็นเอกภาพและเข้มแข็ง
• ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC Blueprint) : จุดเน้น คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม การสร้างความยุติธรรมและสิทธิ การลดช่องว่างการพัฒนา การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
๑.๒ การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ประกอบด้วยเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ๔ ประการ คือ ๑) ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม ๒) ส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ๓) ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม และ ๔) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
๑.๓ ทุนทางวัฒนธรรม หมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญาที่สั่งสมสืบทอดกันมาและยังดำรงอยู่ เป็นสิ่งที่สังคมนั้นเห็นคุณค่า เป็นที่ต้องการและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้งอกเงยได้ ทุนทางวัฒนธรรมมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
• ชนิดที่มีรูปลักษณ์ (tangible) เช่น อาหารพื้นถิ่น กฎเกณฑ์เรื่องอาหาร ศิลปะ สถาปัตยกรรม ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย การรักษาโรค ยาและสมุนไพร เทคโนโลยีงานช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต วรรณกรรม นิทาน ตำนาน กีฬาประจำถิ่น เทศกาล เพลง ดนตรี ศิลปะการแสดง เป็นต้น
• ชนิดที่ไม่มีรูปลักษณ์ (intangible) เช่น ภาษา ภาษาถิ่น ขนบประเพณี พิธีกรรม ธรรมเนียมถิ่น ระบบการเมืองการปกครอง ความเชื่อ ศาสนา วิธีคิด ระบบเศรษฐกิจชุมชน ระบบตลาด ทัศนคติต่อโลกและชีวิต ระบบครอบครัวและเครือญาติ เป็นต้น
๑.๔ การที่จะนำทุนทางวัฒนธรรมมาก่อให้เกิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือธุรกิจสร้างสรรค์ ได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วย ๓ สิ่งต่อไปนี้ คือ ๑) การมีความคิดสร้างสรรค์ ๒) การมีศักยภาพในการแสดงออก และ ๓) ต้องมีเวทีให้แสดงออก
๒. การอภิปรายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการวัฒนธรรมไทยเพื่อความมั่นใจในอาเซียน”
๒.๑ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศสมาชิกมาทำให้เกิดขีดความสามารถในการแข่งขันได้ของภูมิภาคอาเซียน ดังนั้น จึงควรมองอาเซียนเป็นกรอบความร่วมมือมากกว่าที่จะเป็นกรอบการแข่งขัน สมาชิกอาเซียนควรเคารพและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ควรมองข้ามประวัติศาสตร์ที่อาจเคยมีความขัดแย้งต่อกัน การมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเดียวกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการมารวมตัวกัน
๒.๒ ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน มี ๒ ยุทธศาสตร์ คือ ๑) การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และ ๒) การส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าทางวัฒนธรรม : ประเด็นที่ต้องคิด ก็คือ ทำอย่างไรที่จะสงวนรักษาและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ทำอย่างไรให้สินค้าทางวัฒนธรรมของเราสามารถเพิ่มมูลค่าได้ ทำอย่างไรให้สินค้าทางวัฒนธรรมสามารถช่วยก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในอาเซียนได้
๒.๓ จุดเด่นของสปาไทย คือ ความเป็นไทย (Thainess) ซึ่งความเป็นไทยนี้จะทำให้สามารถแยกแยะถึงความแตกต่างระหว่างสปาไทยกับสปาของประเทศอื่นได้ ธุรกิจสปามิได้หมายถึงแค่การให้บริการการนวดอย่างเดียว แต่ยังมีความเชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่นๆ อาทิ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพองค์รวม การท่องเที่ยว อาหารและสมุนไพรไทย สถาปัตยกรรมไทย เครื่องแต่งกายแบบไทยด้วย ปัจจุบันถือได้ว่าไทยเป็นประเทศเดียวที่มีมาตรฐานในเรื่องบุคลากรของการทำสปาที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขดูแลอยู่ และ medical spa นั้นถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวด้วย
๒.๔ คำว่า วัฒนธรรม ประกอบไปด้วย hard culture ซึ่งสามารถจับต้องมองเห็นได้ กับ soft culture ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกต่างๆ เช่นคำว่า ความเป็นไทย คำว่าไม่เป็นไร ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของงานบริการ ประเด็นสำคัญ คือ เราควรหันกลับมาคิดและรวบรวมว่าไทยเรามี hard culture และ soft culture ใดบ้างที่เป็นจุดเด่น ต้องพยายามดึงความเป็นไทยออกมาให้ได้ แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น เพื่อที่จะใช้เป็นจุดขายและทำให้เราเป็นผู้นำในเรื่องนั้นๆ
๒.๕ ประเทศไทยมิได้มี character เดียว แต่ละชุมชนแต่ละท้องถิ่นควรต้องพยายามมองหาและเล็งเห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของตน มีการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนให้เกิดขึ้น แล้วใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ชุมชนรวมทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ท้องถิ่นตนมีอยู่เพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสิ่งที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง ก็คือ การพัฒนาคนและสินค้าในท้องถิ่น ยกตัวอย่าง เช่น กรณีของตลาดน้ำอัมพวา ซึ่งผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการที่จะพัฒนาเป็นตลาดน้ำขึ้นมา ทั้งนี้ โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่อัมพวามีอยู่ จากนั้นจึงมีการกำหนดกระบวนการและกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมมาช่วยในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำให้การพัฒนาตลาดน้ำอัมพวาสามารถประสบความสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้
วัตถุประสงค์ของการสัมมนา : เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในมุมมองด้านศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งนำเสนอผลกระทบโดยเฉพาะโอกาสและข้อจำกัดทางธุรกิจในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกับงานด้านวัฒนธรรม ให้กับเครือข่ายผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป
เนื้อหาของการสัมมนา มีดังต่อไปนี้
๑. การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โอกาสของผู้ประกอบการวัฒนธรรมไทย”
๑.๑ The Three Blueprints (สามเสาหลักของอาเซียน) ประกอบด้วย :
• ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) : จุดเน้น ก็คือ ให้มีตลาดและฐานการผลิตเดียว เป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน มีการพัฒนาที่เท่าเทียม และสามารถบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
• ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint) : จุดเน้น คือ มีการพัฒนาทางการเมือง มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีความร่วมมือป้องกันทางทหารและความมั่นคงของอาเซียนเพื่อความสงบสุขเป็นเอกภาพและเข้มแข็ง
• ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC Blueprint) : จุดเน้น คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม การสร้างความยุติธรรมและสิทธิ การลดช่องว่างการพัฒนา การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
๑.๒ การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ประกอบด้วยเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ๔ ประการ คือ ๑) ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม ๒) ส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ๓) ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม และ ๔) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
๑.๓ ทุนทางวัฒนธรรม หมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญาที่สั่งสมสืบทอดกันมาและยังดำรงอยู่ เป็นสิ่งที่สังคมนั้นเห็นคุณค่า เป็นที่ต้องการและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้งอกเงยได้ ทุนทางวัฒนธรรมมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
• ชนิดที่มีรูปลักษณ์ (tangible) เช่น อาหารพื้นถิ่น กฎเกณฑ์เรื่องอาหาร ศิลปะ สถาปัตยกรรม ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย การรักษาโรค ยาและสมุนไพร เทคโนโลยีงานช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต วรรณกรรม นิทาน ตำนาน กีฬาประจำถิ่น เทศกาล เพลง ดนตรี ศิลปะการแสดง เป็นต้น
• ชนิดที่ไม่มีรูปลักษณ์ (intangible) เช่น ภาษา ภาษาถิ่น ขนบประเพณี พิธีกรรม ธรรมเนียมถิ่น ระบบการเมืองการปกครอง ความเชื่อ ศาสนา วิธีคิด ระบบเศรษฐกิจชุมชน ระบบตลาด ทัศนคติต่อโลกและชีวิต ระบบครอบครัวและเครือญาติ เป็นต้น
๑.๔ การที่จะนำทุนทางวัฒนธรรมมาก่อให้เกิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือธุรกิจสร้างสรรค์ ได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วย ๓ สิ่งต่อไปนี้ คือ ๑) การมีความคิดสร้างสรรค์ ๒) การมีศักยภาพในการแสดงออก และ ๓) ต้องมีเวทีให้แสดงออก
๒. การอภิปรายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการวัฒนธรรมไทยเพื่อความมั่นใจในอาเซียน”
๒.๑ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศสมาชิกมาทำให้เกิดขีดความสามารถในการแข่งขันได้ของภูมิภาคอาเซียน ดังนั้น จึงควรมองอาเซียนเป็นกรอบความร่วมมือมากกว่าที่จะเป็นกรอบการแข่งขัน สมาชิกอาเซียนควรเคารพและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ควรมองข้ามประวัติศาสตร์ที่อาจเคยมีความขัดแย้งต่อกัน การมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเดียวกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการมารวมตัวกัน
๒.๒ ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน มี ๒ ยุทธศาสตร์ คือ ๑) การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และ ๒) การส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าทางวัฒนธรรม : ประเด็นที่ต้องคิด ก็คือ ทำอย่างไรที่จะสงวนรักษาและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ทำอย่างไรให้สินค้าทางวัฒนธรรมของเราสามารถเพิ่มมูลค่าได้ ทำอย่างไรให้สินค้าทางวัฒนธรรมสามารถช่วยก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในอาเซียนได้
๒.๓ จุดเด่นของสปาไทย คือ ความเป็นไทย (Thainess) ซึ่งความเป็นไทยนี้จะทำให้สามารถแยกแยะถึงความแตกต่างระหว่างสปาไทยกับสปาของประเทศอื่นได้ ธุรกิจสปามิได้หมายถึงแค่การให้บริการการนวดอย่างเดียว แต่ยังมีความเชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่นๆ อาทิ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพองค์รวม การท่องเที่ยว อาหารและสมุนไพรไทย สถาปัตยกรรมไทย เครื่องแต่งกายแบบไทยด้วย ปัจจุบันถือได้ว่าไทยเป็นประเทศเดียวที่มีมาตรฐานในเรื่องบุคลากรของการทำสปาที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขดูแลอยู่ และ medical spa นั้นถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวด้วย
๒.๔ คำว่า วัฒนธรรม ประกอบไปด้วย hard culture ซึ่งสามารถจับต้องมองเห็นได้ กับ soft culture ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกต่างๆ เช่นคำว่า ความเป็นไทย คำว่าไม่เป็นไร ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของงานบริการ ประเด็นสำคัญ คือ เราควรหันกลับมาคิดและรวบรวมว่าไทยเรามี hard culture และ soft culture ใดบ้างที่เป็นจุดเด่น ต้องพยายามดึงความเป็นไทยออกมาให้ได้ แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น เพื่อที่จะใช้เป็นจุดขายและทำให้เราเป็นผู้นำในเรื่องนั้นๆ
๒.๕ ประเทศไทยมิได้มี character เดียว แต่ละชุมชนแต่ละท้องถิ่นควรต้องพยายามมองหาและเล็งเห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของตน มีการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนให้เกิดขึ้น แล้วใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ชุมชนรวมทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ท้องถิ่นตนมีอยู่เพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสิ่งที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง ก็คือ การพัฒนาคนและสินค้าในท้องถิ่น ยกตัวอย่าง เช่น กรณีของตลาดน้ำอัมพวา ซึ่งผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการที่จะพัฒนาเป็นตลาดน้ำขึ้นมา ทั้งนี้ โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่อัมพวามีอยู่ จากนั้นจึงมีการกำหนดกระบวนการและกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมมาช่วยในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำให้การพัฒนาตลาดน้ำอัมพวาสามารถประสบความสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕