วารสารความร่วมมือกับต่างประเทศ 2555
วารสารความร่วมมือกับต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน 2555 - มิถุนายน 2555 วารสารความร่วมมือกับต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการฉบับนี้จะกล่างถึง การศึกษาและการพัฒนาแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทย เข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาเซียน หรือชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๑๐) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ในปัจจุบัน มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก ๕ ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) โดยผู้นำำอาเซียนตกลงกันว่าจะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘ ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม |
วารสารความร่วมมือกับต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2554 - มีนาคม 2555 วารสารความร่วมมือกับต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการฉบับนี้เป็นฉบับพิเศษ ที่ออกเป็นราย ๖ เดือน(ตุลาคม ๒๕๕๔ - มีนาคม ๒๕๕๕) จึงมีบทความในคอลัมน์ต่างๆ เพิ่มขึ้น หากยังคงเปี่ยมไปด้วยสาระและข้อมูลความรู้มากมาย อาทิ งานฉลองจารึกวัดโพธิ์ มรดกความทรงจำแห่งโลก ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๕ เป็นเวลา ๑๐ วัน ๑๐ คืน เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่วัดโพธิ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก เรื่องการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ ๓๖ ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ ๒ ปี โดยในปีนี้ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นบุคคลสำคัญระดับโลกเรื่องการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสขององค์การซีมีโอ ครั้งที่ ๓๔ คู่ขนานกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียนครั้งที่ ๖ และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ ๒ และบทความมรดกโลกฉบับนี้จะนำท่านผู้อ่านไปชมอนุสรณ์สถานสำ คัญและมีชื่อเสียงทั่วโลก นั่นคือ ทัชมาฮาลมรดกโลกแห่งราชวงศ์โมกุลในสาธารณรัฐอินเดีย อนุสาวรีย์แห่งความรักที่งามสง่า อลังการ และมีความสวยงามอย่างหาที่ติไม่ได้ และยังเคยถูกจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมของโลกด้วย นอกจากนี้ ยังมีบทความพิเศษจาก รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชรอีก ๒ เรื่อง คือ เรื่องการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน : คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนโปรดติดตามสาระทั้งหมดได้ในเล่ม สำหรับบทความพิเศษฉบับนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับการฟื้นฟูบูรณะแหล่งมรดกโลกที่สำคัญของไทย “อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ๕๐ ปีขึ้นในประเทศไทยติดตามได้ในคอลัมน์ In Focus |
|
+ ดูทั้งหมด |