ประเทศต่างๆ ทำอย่างไรในช่วงปิดสถานศึกษา จากวิกฤตการแพร่ระบาดใหญ่ COVID-19
ประเทศต่างๆ ทำอย่างไรในช่วงปิดสถานศึกษา จากวิกฤตการแพร่ระบาดใหญ่ COVID-19
----------------------
“การปิดสถานศึกษา ทำให้กระทบผู้เรียนจำนวน 1,579,634,506 คน คิดเป็น 90.2% ใน 191 ประเทศ”
ข้อมูลจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) และซีมีโอ (SEAMEO) พบว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่กว่า 90% ทั่วโลกมีการปิดสถานศึกษาทั่วประเทศตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษาเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลให้กระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนกว่า 1.5 พันล้านคน ในขณะที่มี บางประเทศปิดสถานศึกษาเป็นบางพื้นที่ และบางแห่งให้ปิดไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 โดยให้นักเรียนมีการ เรียนทางไกลในรูปแบบต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา คูเวต สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ มอลตา นอกจากนี้ยังมีบางประเทศเริ่มมี การทยอยเปิดสถานศึกษาเป็นบางพื้นที่แล้วตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน กรีนแลนด์ นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ ฟินส์แลนด์
ในช่วงที่มีการปิดสถานศึกษาหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อย่างกระทรวงศึกษาธิการได้มี การเปิดการเรียนการสอนทางไกลในหลากหลายรูปแบบทั้งการเรียนการสอนผ่านทีวี ดาวเทียม สื่อออนไลน์ และ มัลติมีเดีย ที่มีหลายแพลตฟอร์ม นอกจากนี้องค์การระหว่างประเทศอย่างยูเนสโกและซีมีโอก็ได้เปิดให้มีช่องทางในการ สื่อสาร และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์สำหรับโรงเรียน ครู เด็ก และผู้ปกครอง สามารถที่จะนำไปใช้ได้ ดังนี้
1. องค์การซีมีโอ (SEAMEO) ร่วมกับศูนย์ต่างๆ ภายใต้ซีมีโอ (SEAMEO Centres) มหาวิทยาลัยและพันธมิตร เปิดให้การเรียนในลักษณะของ SEAMEO Massive Open Online Courses (SEA-MOOCs) และ Open Educational Resources (OER) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื้อหาหลักสูตรต่างๆ สามารถนำไปใช้กับโรงเรียน สถาบันอาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.seameo.org/Main_programme/218
2. องค์การยูเนสโก (UNESCO) ร่วมกับพันธมิตรด้านการศึกษาจากทั่วโลกริเริ่มโครงการชื่อ Global Education Coalition เพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในการขยายขอบเขตการเรียนรู้ทางไกลให้ได้มากที่สุดและสามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงและเปราะบางมาก ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ในสหประชาชาติ ภาคประชาสังคม และพันธมิตรด้านเทคโนโลยีต่างๆ ที่ร่วมกันทำงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ให้สามารถใช้นวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาในบริบทต่างๆ ในการจัดการศึกษาทางไกล ด้วยการผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนทั้งแบบไม่ใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีสมัยเก่า ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง ข้อมูลเพิ่มเติม https://en.unesco.org/covid19/educationresponse/solutions
นอกจากนี้องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ยังได้มีการจัดทำคู่มือเรื่อง “ครูควรพูดคุยกับเด็ก ๆ เกี่ยวกับ COVID- 19 อย่างไร” ดูเพิ่มเติม https://www.unicef.org/coronavirus/how-teachers-can-talk-children-about-coronavirus- disease-covid-19 และ "วิธีที่ผู้ปกครองสามารถพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับ COVID-19" ดูเพิ่มเติม https://www.unicef.org/coronavirus/how-talk-your-child-about-coronavirus-covid-19
****************************************************************
ข้อมูล ณ วันที่ : 22 เมษายน 2563
สรุปและเรียบเรียงโดย : กลุ่มสารสนเทศต่างประเทศ
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ