ข่าวความเคลื่อนไหว
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 14 และการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 10
ASEAN Senior Officials Meeting on Education and ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting on Education |
Miss Duriya Amatavivat, Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Education of Thailand participated in the 14th ASEAN Senior Officials Meeting on Education and the 10th ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting on Education held during 28 – 29 November 2019 in Bangkok. The Meeting took note of the adoption of Bangkok Declaration for Advancing as well as the updates activities from partners and other ASEAN entities in various areas, such as safe school initiatives, the status of the revised AUN Charter, the regional cooperation programme to improve the quality and labour market orientation of Technical and Vocational Education and Training (TVET), the activities to support the mobility, quality higher education and scholarships in many levels. The meeting also discussed progress made under the ASEAN Work Plan on Education 2016 - 2020 and promoting complementarities among regional initiatives on education. The ASEAN Senior Officials Meeting on Education (SOM-ED) and ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting on Education (APT SOM-ED) are traditionally held yearly hosted by the chairperson of ASEAN Ministers Meeting on Education (ASED). For this meeting, the Chair of ASEAN SOM-ED is Myanmar and the co-chair of APT SOM-ED is Japan. The result of the meeting will be elevated to the ASEAN Ministers Meeting on Education, scheduled to hold in the Philippines during the first week of August 2020, for consideration, endorsement and adoption. |
นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรม The Berkeley ประตูน้ำ ประเทศไทย |
ในโอกาสนี้ ประเทศไทยได้รายงานที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียนเพื่อทราบถึงการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน พ.ศ. 2559 – 2563 ซึ่งประกอบด้วย 10 กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1) การพัฒนาผู้เรียนด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพ (Empower and equip learners with quality education) 2) การส่งเสริมยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา (Support the flexible learning strategies and access to education and learning opportunities) และ 3) การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Advance partnership for a better learning environment) |
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการดำเนินความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาในการพัฒนาการอาชีวศึกษาเพื่อคุณภาพแรงงานตามความต้องการของตลาด การจัดตั้ง ASEAN TVET Council การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางการอุดมศึกษาร่วมกับสหภาพยุโรปภายใต้กรอบความร่วมมือ EUSHARE การดำเนินการตามโครงการ “โรงเรียนปลอดภัย (ASEAN Safe School Initiative: ASSI)” เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและความรู้ในการป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติ และการทำงานร่วมกันระหว่างอาเซียนกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) ด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง รับทราบการสนับสนุนทุนการศึกษาที่ประเทศคู่เจรจาให้การสนับสนุนในกรอบอาเซียน อาทิ Canada-ASEAN Scholarships and Educational Exchanges for Development (SEED) ของแคนาดา Stipendium Hungaricum ของฮังการี และFulbright U.S.–ASEAN Visiting Scholars Initiative and the U.S.–ASEAN Internship Programme ของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนการรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ในอาเซียน (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 เมื่อวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2562 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ประเทศไทยด้วย |
นอกจากนี้ ที่ประชุมด้านการศึกษาของอาเซียนบวกสาม ได้รับทราบการดำเนินงานของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการด้านการศึกษา พ.ศ. 2562 – 2568 ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพในประเทศอาเซียนบวกสาม (Develop a platform on early childhood education in APT countries) และการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคอุตสาหกรรม 4.0 และก้าวสู่สังคมอนาคต 5.0 (A study visit programme for ASEAN member states to learn about how to improve vocational students to meet industrial 4.0 and society 5.0) ตลอดจน พิจารณาให้ข้อคิดเห็นเพื่อประกอบการกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป |
อนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการของไทยได้กล่าวขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนและอาเซียนบวกสามที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมของประเทศไทยในช่วงการเป็นประธานอาเซียนภายใต้หัวข้อ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน (Advancing Partnership for Sustainability)” |
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2 ธันวาคาม 2562