ข่าวความเคลื่อนไหว
งานเฉลิมฉลองเนื่องในวันแม่สากล ประจำปี 2561 (International Mother Language Day) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ณ สานักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
Dr. Wattanaporn Ra-Ngubtook, Deputy Permanent Secretary of Education, presided over a festive event dedicated to the celebration of International Mother Language Day on “Linguistic Diversity and Multilingualism Count for Sustainable Development”. It took place in the regional office of UNESCO in Bangkok, on February 21, 2018.
The Deputy Permanent Secretary of Education welcomed Ambassadors, representatives from Royal Thai Embassy, representatives from the public and private sectors, and media, to promote and emphasize the importance of multilingualism for achieving “Sustainable Development Goals”. They emphasized the importance of the Mother Tongue with a view to promote linguistic and cultural diversity and multilingualism with different forms and expressions. A greater understanding of the language can be had, if language is interpreted as a medium for expressing a personal and social identity. Language is an instrument of human civilization. It is the main channel to communicate in order to strengthen the operational efficiency and cooperation, in order to work together in society.
เมื่อวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00 น. นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวันภาษาแม่สากล หัวข้อ “Linguistic diversity and multilingualism count for sustainable development” โดยกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชน และเน้นย้ำถึงความสำคัญของภาษาแม่ การส่งเสริมการใช้ภาษาหลากหลาย และการแสดงออกของพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะการอนุรักษ์ภาษาของชนกลุ่มน้อยและภาษาถิ่น เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของประเทศในอนาคต ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ซึ่งจะเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของประเพณีทางวัฒนธรรมและภาษา ที่มีรูปแบบและการแสดงออกที่แตกต่างกัน การสร้างความเข้าใจมากขึ้นด้านภาษาซึ่งถือได้ว่าเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางความรู้สึกของบุคคลและความมีอัตลักษณ์ทางสังคม ทั้งนี้ ภาษาเป็นเครื่องมือแห่งอารยธรรมมนุษย์และ เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานและการประสานงานร่วมกันในหมู่สังคม โดยเฉพาะการสอนภาษาแม่ในโรงเรียนจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้หนังสือ อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงฯ ยังกล่าวถึงการดำเนินงานของรัฐบาลไทยที่มุ่งส่งเสริม การปกป้องและยอมรับต่อความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม รวมถึงข้อพันธกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาพลเมืองของไทยอย่างทั่วถึงโดยสอดคล้องตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ตลอดจน การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งได้รับรางวัลของยูเนสโก “UNESCO King Sejong Literacy Prize” ในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้โครงการจัดการเรียนการสอนแบบทวิ-พหุภาษาไทย-มลายูปาตานี (Patani Malay-Thai Bilingual and Multilingual Education Project) เพื่อเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาและการบรรลุเป้าหมายที่ 4
อนึ่ง การจัดงานเฉลิมฉลองดังกล่าว เป็นการดำเนินความร่วมมือระหว่างสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ และสถานเอกอัครราชทูตบังคลาเทศ ประจำประเทศไทย โดย Ms. Maki Hayashikawa (มากิ ฮายาชิคาวา) รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ และ H.E. Saida Muna Tasneem (ไซดา มูนา ทาสนีม) เอกอัครราชทูตบังคลาเทศ ประจำประเทศไทย ได้ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานฯ นอกจากนี้ ยังได้มีการเชิญ ดร. เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มากล่าวบรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของภาษาแม่ในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางมรดกและวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” ตลอดจน การแสดงออกทางวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลายจาก 11 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ประเทศไทย อินเดีย โคลัมเบีย รัสเซีย เม็กซิโก จีน คาซัคสถาน ฝรั่งเศส เบลเยียม และซูดาน
*****************************
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
28 กุมภาพันธ์ 2561