Loading color scheme

การประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก ครั้งที่ 194

 

         มาตรการในการปรับลดการใช้จ่ายงบประมาณของยูเนสโก มีดังต่อไปนี้

-   ปรับลดตำแหน่งเจ้าหน้าที่จากเดิม 1,893 ตำแหน่งในปี 2012 - 2013 เป็น 1,450 ตำแหน่งในปี 2014 – 2015

-   การไม่เปิดรับสมัครในตำแหน่งว่างของยูเนสโก

-   ปรับลดการเดินทางไปต่างประเทศของเจ้าหน้าที่ยูเนสโก

-   การมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญ/กิจกรรมหลักของแต่ละสาขา

-   การรักษาจุดเน้นหลักขององค์กรซึ่งให้ความสำคัญกับแอฟริกา และความเสมอภาคชายหญิง

-   การ แสวงหาเงินทุนจากที่อื่น ๆ รวมถึงการหารือกับประเทศสมาชิกในการลดภาระค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ โดยอาจขอให้ประเทศสมาชิกช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบางส่วน
-    การรักษาสมดุลระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักงานในส่วนภูมิภาค

-    การใช้ประโยชน์ของเครือข่ายยูเนสโกและสถาบันในเครือให้มากขึ้นพยายามหาความหลากหลายในความร่วมมือและการระดมทุน

  • นอกจากนี้ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ได้รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการขององค์กร สรุปได้ดังนี้ปัญหา การเกิดวิกฤตการณ์ในซีเรีย เมื่อปี 2554 ส่งผลให้ประชาชนซีเรียจำนวนมากต้องอพยพไปยังประเทศใกล้เคียง โดยประชากรจำนวน 1 ใน สาม ของผู้อพยพเป็นเด็กและเยาวชน ในขณะที่เด็กและเยาวชน ซีเรียจำนวน 1.3 ล้านคนจำเป็นต้องได้รับการศึกษาโดยเร่งด่วน องค์การยูเนสโกจึงได้ให้ความช่วยเหลือวิกฤตการณ์ดังกล่าว ด้วยให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาแก่เยาวชนโดยจัดให้มีการเรียนการสอนทั้งใน ระบบและนอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบในประเทศเลบานอน จอร์แดน และอิรัก เช่น
  • การฝึกอบรมครูในด้านการอาชีวศึกษาและเทคนิค การส่งเสริมโครงการด้านการเรียน การสอน การจัดกิจกรรมนอก ระบบโรงเรียน การให้ความช่วยเหลือด้านจิตวิทยาสังคม นอกจากนี้ ยังให้การพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศที่ถูกทำลาย ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ 3 ปี “โครงการฉุกเฉินเพื่อการพิทักษ์และปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของซีเรีย” (Emergency Safeguarding of the Syrian Heritage Project”
  • สนับ สนุนการฝึกอบรมด้านการศึกษา การวางแผน และการบริหารจัดการด้านการศึกษา ทั้งนี้ ได้มีนักวิชาการมากกว่า 2,300 คน กว่า 50 ประเทศ ได้รับการอบรมภายใต้การดำเนินการของสถาบันฝึกอบรมนานาชาติด้านการวางแผนการ ศึกษา (IIEP) โดยผู้เรียนจำนวนร้อยละ 40 เป็นสตรี
  • การ สนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ตามสาขาความเชี่ยวชาญของยูเนสโก โดยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการจัดทำแผนระดับชาติว่าด้วยการรู้ หนังสือ การจัดทำแผนการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคนิค การจัดทำกรอบนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้มีการประกาศปฏิญญาไนโรบี ที่ช่วยส่งเสริมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • การให้ความช่วยเหลือมรดกทางวัฒนธรรมที่ถูกทำลายในอียิปต์ ลิเบีย มาลี ตูนิเซีย และซีเรีย
  • การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเตือนภัยสึนามิในแคริบเบียนโดยรัฐบาลบาเบดอสในเดือนพฤศจิกายน 2556
  • การ ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ภายในปี 2558 และการจัดทำรายงานประเมินผลระดับชาติของประเทศต่าง ๆ ว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน การผลักดันให้การศึกษาเป็นวาระสำคัญของสหประชาชาติ ภายหลังปี 2558

           นอกจากนี้ ในปี 2558 องค์การยูเนสโกจะเฉลิมฉลองครบรอบวาระการจัดตั้งองค์การ ครบ 70 ปี และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการวางแผนงานและปรับปรุงโครง สร้างขององค์การยูเนสโกให้สามารถสนองตอบต่อความต้องการและดำเนินการในเรื่อง ต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งได้กล่าวถึงกรอบความ    ตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนและยูเนสโกซึ่งเลขาธิการอาเซียนและผู้ อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ได้ร่วมลงนามเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2556โดยมีสาขาความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงฯ ประกอบด้วย (1) การศึกษา(2) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (3) การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ(4) สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (5) สังคมและมานุษยวิทยา (6) วัฒนธรรม และ (7) การสื่อสารและสารสนเทศซึ่งแนวทางการดำเนินงานสาขาการศึกษา (2014 – 2018) เช่น โครงการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มด้อยโอกาส การใช้ICTเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่ายนักวิชาการการดำเนินการวิจัยร่วม เป็นต้น

2. การกล่าวสุนทรพจน์ของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ใน การประชุมเต็มคณะ หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศต่าง ๆ ได้นำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินงานขององค์การยูเนสโก ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าว สุนทรพจน์ ในช่วงบ่ายวันที่ 7 เมษายน 2557 มีสาระสำคัญ ดังนี้

 1) การกำหนดนโยบายการศึกษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากปี 2557 แม้ว่าจะเป็นปี สุดท้ายของการประกาศทศวรรษว่าด้วยการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสห ประชาชาติ (พ.ศ 2548-2557) แต่การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังคงต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต และต้องจัดให้สอดรับกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลง

2) ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญของโลกที่จะต้องให้มีการบรรลุเป้าหมายทั้ง 6 ประการภายในปี 2558 โดยจะร่วมมือกับยูเนสโกในการจัดการประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2557 เพื่อเป็นเวทีหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนของภูมิภาคที่ผ่านมา พร้อมทั้งผู้นำด้านการศึกษาในภูมิภาคจะได้ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเป้าหมายการจัดการศึกษาของโลกภายหลังปี 2558

3) ประเทศไทยได้เรียกร้องให้ยูเนสโกดำเนินบทบาทเชิงรุกเพื่อผลักดันให้การศึกษา เป็นวาระของโลกภายหลังปี 2558 โดยการศึกษาในอนาคตจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของสังคม การศึกษาสำหรับอนาคตจะต้องไม่สนับสนุนเฉพาะเรื่องคุณวุฒิการศึกษา แต่ต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและสมรรถนะอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการแข่งขัน มีความคิดสร้างสรรค์ มีการพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์และสังคม ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ นโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทย นับว่าสอดคล้องกับข้อเสนอของยูเนสโกที่เสนอให้ทุกประเทศจัดการศึกษาอย่างมี คุณภาพและประชาชนทุกคนได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในปี 2573

ex194-01

3. การประชุมสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ

     องค์การยูเนสโกได้จัดให้มีการประชุมสำนักเลขาธิการแห่งชาติในช่วงเช้าของวันที่ 9 และ 10 เมษายน 2557 สาระสำคัญประกอบด้วย

1) การจัดทำรายงานประจำปีสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ โดยองค์การยูเนสโก เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการ แห่งชาติฯ และการดำเนินกิจกรรมของประเทศต่าง ๆ ในกรอบงานยูเนสโก

2) การจัดทำแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสำนักงานภาคพื้นของยูเนสโก และสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติฯ โดยได้มีการกำหนดภารกิจ และการดำเนินงานร่วมกันในการวางแผนการดำเนินงานของยูเนสโก นอกจากนี้ ได้มีการหารือในประเด็นต่าง ๆ โดยที่ประชุมเสนอให้มีการจัดประชุมหารือสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก จำนวน 3-4 วันในลักษณะการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยกำหนดให้การประชุมฯ 1 วันเป็นการหารือร่วมกันระหว่างสำนักเลขาธิการฯ ในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานระหว่างกัน ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเป็นไปตามผลการประชุม 3 ฝ่าย ระหว่างสำนักงานผู้แทนถาวรประจำองค์การยูเนสโก คณะเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก และสำนักงานภูมิภาคของยูเนสโก และข้อเสนอของประเทศแคนาดา อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากการจัดการประชุมฯ หลายวัน ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญ

3) ของยูเนสโก อาจส่งผลให้เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ หลายประเทศ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุม เนื่องจากมีภารกิจต้องเข้าร่วมการประชุมพร้อมกับหัวหน้าคณะในระหว่างการ ประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก

นอก จากนี้ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างสำนักงาน ภาคพื้นของยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ ในโอกาสนี้ ผู้แทนไทยได้กล่าวแสดงข้อคิดเห็นในระหว่างการประชุมฯ ดังนี้

1) ประเทศ ไทยได้สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพและสถานที่ในการจัดตั้งสำนักงานภาคพื้นของยู เนสโก ซึ่งมีภารกิจดูแลด้านการศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ณ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล กรุงเทพมหานคร โดยตลอดเวลานับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อปี 2504 ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก ได้มีความร่วมมือที่ดีและใกล้ชิดกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ โดยมีการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยสื่อและความเสมอภาค ทางเพศ และการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเป็นพลเมืองโลก เมื่อเดือนธันวาคม 2556 ที่ประสบความความสำเร็จอย่างดียิ่ง แม้ว่าจะมีวิกฤติการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงขณะนั้น อย่างไรก็ตาม สำนักงานภาคพื้นของยูเนสโก   ควรขยายความสัมพันธ์อันดีในลักษณะที่มีต่อประเทศเจ้าภาพดังกล่าวไปยังประเทศ ที่อยู่ภายใต้การดูแลอื่น ๆ ด้วย เช่นกัน

2) ประเทศไทยมีความยินดีที่ได้รับทราบว่าสำนักงานใหญ่ยูเนสโกจะให้ความสำคัญต่อ บทบาทและมอบอำนาจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แก่สำนักงานภาคพื้นยูเนสโกมากขึ้น

3) ประเทศไทยเสนอให้สำนักงานภาคพื้นยูเนสโก และสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติฯ ขยายความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากสำนักงานภาคพื้นยูเนสโกจะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ แนวปฏิบัติที่เป็นท้องถิ่น ข้อมูล สถิติด้านการศึกษา และอื่น ๆ จากสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติฯ ในขณะเดียวกัน สำนักงานคระกรรมการแห่งชาติฯ จะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านองค์ความรู้และทรัพยากรบุคคลจากองค์การยูเนสโก ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างงานของยูเนสโกให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น

4. การอภิปรายเกี่ยวกับแผนงานระยะกลางของยูเนสโก พ.ศ 2557-2563

ที่ ประชุมฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ระยะกลางของยูเนสโกพ.ศ 2557-2563 ที่ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องแอฟริกาและความเสมอภาคทางเพศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างเสมอภาคและยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

1) สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพสูงและนำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต

2) เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และให้มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองโลก

3) ดำเนินการด้านการศึกษาเพื่อปวงชนและจัดทำวาระการศึกษาระหว่างประเทศในอนาคต

4) สร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของชาติในระดับภูมิภาคและระดับโลก

5) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์ให้ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

6) สนับสนุนการพัฒนาด้านสังคมโดยรวมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมและส่งเสริมหลักจริยธรรมระหว่างชาติ

7) ป้องกัน ส่งเสริมการส่งผ่านทางมรดกโลก

8) การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม

9) การส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อ การพัฒนาและการเข้าถึงข้อมูล และความรู้

5. การรายงานเรี่องการศึกษาภายหลัง ปี 2558

ที่ ประชุมฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการศึกษาภายหลังปี 2015 ของยูเนสโก ซึ่งจำเป็นต้องกำหนดให้ชัดเจน และต้องมีการดำเนินงานในลักษณะองค์รวมและต่อเนื่อง และระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยองค์การยูเนสโกจะต้องผลักดันให้การศึกษาเป็นวาระการพัฒนาที่สำคัญของโลก และเป็นกรอบส่วนหนึ่งของการพัฒนาระหว่างประเทศ

นอก จากนี้ การดำเนินการวาระภายหลังปี 2015 จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาในเป้าหมายอื่นด้วย เช่นด้านสุขภาพ การจ้างงาน และความเสมอภาคทางเพศ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายในการพัฒนาที่ยูเนสโกสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกได้ดำเนินการเพื่อ ให้บรรลุเป้าหมายคือการให้มีการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในปี 2573 (“Ensure equitable quality education and lifelong learning for all by 2030”) โดยยูเนสโกจะเน้นในด้านต่อไปนี้

1) ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic education)

2) ด้านมัธยมปลายและอุดมศึกษา (Post-basic and tertiary education)

3) ด้านการอ่านออกเขียนได้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ (Youth and adult literacy)

4) ด้านทักษะชีวิตและความสามารถในการทำงาน (Skills for work and life)

5) คุณภาพและสิ่งที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอน (Quality and relevant teaching and learning)

6) ด้านเงินทุนทางด้านการศึกษา (Financing of education)

ที่ ประชุมมีมติให้หารือกับประเทศสมาชิกและนำเสนอข้อคิดเห็นนี้ต่อการประชุมการ ศึกษาเพื่อปวงชนโลก ซึ่งจะจัดขึ้นที่โอมาน ในเดือนพฤษภาคม 2557 และแจ้งให้กับประเทศสมาชิกทราบผลสรุปหลังจากการประชุมที่โอมานเรียบร้อยแล้ว

ในโอกาสนี้ ผู้แทนประเทศไทย ได้ร่วมเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภายหลังปี 2558 ดังนี้

1) การ กำหนดเป้าหมายระยะยาวในการผลักดันให้ทุกประเทศบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษา อย่างมีคุณภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้บรรลุผลภายในปี 2570 องค์การยูเนสโกควรกำหนดมาตรการและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อให้ทุกประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

2) การจัดการศึกษาภายหลังปี 2570 องค์การยูเนสโกควรผลักดันสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ   ของยูเนสโก ได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน ให้มีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนได้รับการ ศึกษาที่มีคุณภาพและอย่างทั่วถึง และการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ภายในปี 2570 ให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

6. การหารือเรื่อง UNESCO Prizes ที่ประชุมฯ ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับรางวัลยูเนสโก ซึ่งมีทั้งสิ้น จำนวน 22 รางวัลที่ยังดำเนินการอยู่ภายใต้ 5 สาขาของยูเนสโก โดยแบ่งได้ตามสาขา และในส่วนของสำนักงานผู้อำนวยการ (Office of the Director-General) ดังนี้

สาขาการศึกษา จำนวน 5 รางวัล

- UNESCO – King Sejong Literacy Prize ทุนจากสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 20,000 เหรียญสหรัฐ และการเดินทางไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับโครงการการรู้หนังสือ มอบเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 2 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรู้หนังสือและการพัฒนาภาษาแม่ ( mother tongue)

- UNESCO – Confucius Prizes for Literacy ทุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 20,000 เหรียญสหรัฐ และการเดินทางไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับโครงการการรู้หนังสือ มอบเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 3 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรู้หนังสือให้แก่ผู้ใหญ่และเยาวชนที่ขาดโอกาส ในการเรียนหนังสือในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงและสตรี

- UNESCO – The Emir Jaber al- Ahmad al-Jaber al-Sabah Prize for Reserch and Traininf in Special Needs Education for the Mentally Disabled ทุนจากประเทศคูเวต จำนวน 20,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 2 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้พิการทางจิต (mental disabilities)

- UNESCO – King Hamad bin Isa Al Khalifa Prize for the Use of Information and Communication Technologies in Education ทุนจากประเทศบาเรน จำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ มอบเป็นประจำทุกปี ๆ ละ 2 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียน การสอนให้ดียิ่งขึ้น

-UNESCO – Hamdan Bin Rashid Al+Maktoum Prize for Outstanding Practice and Performance in Enhancing the Effectiveness of Teachers ทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จำนวน 90,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 3 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้แก่ครูสำหรับปรับปรุงการปฏิบัติ งานทางการศึกษาทั่วโลก โดยจะให้ความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนาและชุมชนชายขอบและด้อยโอกาส

สาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 รางวัล

- L’Oreal-UNESCO Prize for Women in Science ทุนจาก L’Oreal จำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุนทุกปี ๆ ละ 5 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่นักวิทยาศาสตร์สตรีทั่วโลกเพื่อสนับสนุน บทบาทของสตรี

- UNESCO - Kalinga Prize for the Population of Science ทุนจากรัฐบาลอินเดีย จำนวน 20,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 1 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความนิยมในด้านวิทยาศาสตร์

- UNESCO - Carlos J. Finlay Prize for Meritorious Work in Microbiology ทุนของคิวบา จำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 1 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้าน
จุลชีววิทยา

- UNESCO – Sultan Qaboos Prize for Environmental Preservation ทุนของโอมาน จำนวน 70,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 1 ทุน วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อม

-       UNESCO – Equatorial Guinea International Prize for Research in the Life Sciences ทุนของรัฐบาลสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี มอบทุนทุกปี ๆ ละ 300,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรมในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

สาขาสังคมศาสตร์ จำนวน 6 รางวัล

- UNESCO – Bilbao Prize for the Promotion of a Culture of Human Rights เป็นรางวัลที่เป็นข้อตกลงกับประเทศผู้ให้ วัตถุประสงค์เพื่อให้รางวัลแก่สถาบัน/บุคคลที่ให้การสนับสนุนแก่การดำเนิน การด้านสิทธิมนุษยชน

- UNESCO Prize for Peace Education เป็นรางวัลที่เป็นข้อตกลงกับประเทศผู้ให้ วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ในใจมนุษย์ และสร้างความตระหนักให้กับมนุษย์ในการสร้างสันติภาพ

- UNESCO – Madanjeet Singh Prize for the Promotion of Tolerance and Non-Violence ทุนจากสถาบัน Madanjeet Singh มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ   วัตถุประสงค์เพื่อให้รางวัลกับสถาบัน องค์กร หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมจิตวิญญาณของความอดทนและการต่อต้านความ รุนแรงในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม การศึกษา หรือสื่อสารมวลชน

- UNESCO – International Jose Marti Prize ทุนจากคิวบา มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 5,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อให้รางวัลสำหรับกิจกรรมที่สอดคล้องกับความคิดของ Jose Marti ที่ต้องการสนับสนุนเสรีภาพ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศในลาตินอเมริการและคาริบเบียนในการ รักษาไว้ศึกษาอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของตน

- UNESCO – Avicenna Prize for Ethics in Science ทุนของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน จำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อให้รางวัลสำหรับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสาขาวิทยาศาสตร์ จริยธรรม แต่ขณะนี้ยูเนสโกยังไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศเจ้าภาพ

- UNESCO – Juan Bosch Prize for the Promotion of Social Science Research in Latin America and the Caribbean ทุนจากสาธารรัฐโดมินิกัน จำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ มอบทุน 2 ปีครั้ง วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในประเทศลาตินอเมริกาและคา ริบเบียน

สาขาวัฒนธรรม จำนวน 2 รางวัล

- UNESCO – Sharjah Prize for Arab Culture ทุนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มอบทุนทุกปี ๆ ละ 30,000 เหรียญสหรัฐ จำนวน 2 ทุน วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรมของอาหรับไปสู่ทั่ว โลก

- Melina Mercouri International Prize for the Safeguarding and Management of Cultural Landscapes ทุนของประเทศกรีก มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 30,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์ในการป้องกันและเสริมสร้างภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญของโลก

สาขาสื่อสารมวลชน จำนวน 3 รางวัล

- IPDC – UNESCO Prize for Rural Communication ทุนจาก IPDC Special Account มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 20,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญในการสื่อสาร เพื่อพัฒนาชนบทและสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงการสื่อสารในทุกรูปแบบ

- UNESCO – Guillermo Cano World Press Freedom Prize ทุน Cano Foundation มอบทุนทุกปี ๆ ละ 25,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล องค์กร หรือสถาบันการศึกษาที่ได้ทำผลงานโดดเด่นในการป้องกันและ / หรือการส่งเสริมการสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง

- UNESCO/Jikji Memory of the World Prize ทุนสาธารณรัฐเกาหลี มอบทุน 2 ปีครั้ง จำนวน 30,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ Buljo jikji simche yojeol ในการขึ้นทะเบียนโลก รางวัลนี้เพื่อการอนุรักษ์และเข้าถึงมรดกทางเอกสารซึ่งเป็นมรดกของมนุษยชาติ

สำนักงานผู้อำนวยการใหญ่ จำนวน 1 รางวัล

- Felix Houphouet – Boigny Peace Prize ทุนของ Felix Houphouet-Boigny Foundation for Peace มอบทุนทุกปี ๆ ละ 150,000 เหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคคลและสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน หรือองค์กรที่มีผลงานในการส่งเสริมการแสวงหาการป้องกันหรือการรักษาความสงบ สุขที่สอดคล้องกับกฎบัตรของสหประชาชาติและรัฐธรรมนูญของยูเนสโก

7. การประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการฉลองบุคคลสำคัญของยูเนสโก (Evaluation of UNESCO’s association with the celebration of anniversaries)ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือเรื่องดังกล่าว และมีความเห็นว่าการเสนอบุคคลสำคัญของโลกยังไม่ทั่วถึงทุกภูมิภาค (โดยเฉพาะกลุ่มแอฟริกา อาหรับและลาตินอเมริกาและคาริบเบียน) และยังคงมีความไม่เท่าเทียมทางเพศ จึงมีมติให้ยูเนสโกดำเนินการปรับปรุงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการเสนอชื่อ บุคคลสำคัญ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้การประกาศรับสมัครการเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลกล่าช้าไป จากกำหนดการปกติ (ช่วงเดือนกันยายนปี 2014) แต่จะไม่กระทบกับการดำเนินการและการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญในช่วงระหว่างปี 2016 – 2017 รายละเอียดการเฉลิมฉลองบุคคล/เหตุการณ์สำคัญของโลกตามกลุ่มภูมิภาค

กลุ่ม I W. Europe & North America จำนวน 201 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 25%

กลุ่ม II Eastern Europe จำนวน 329 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41%

กลุ่ม III Latin America & Caribbean จำนวน 61 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 8%

กลุ่ม IV Asia and Pacific จำนวน 112 จำนวน คิดเป็นร้อยละ 14%

กลุ่ม Va Africa จำนวน 37 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5%

กลุ่ม Vb Arab States จำนวน 53 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 7%

รวมทั้งสิ้น 793 เรื่อง

รายละเอียดการเฉลิมฉลองบุคคล/เหตุการณ์สำคัญของโลกตามเพศ (ไม่รวมเหตุการณ์สำคัญ)

กลุ่มประเทศ

จำนวน
(คน)

ร้อยละ

เพศหญิง

(คน)

ร้อยละ

กลุ่ม I W. Europe & N America

159

93%

12

7%

กลุ่ม II Eastern Europe

238

94%

14

6%

กลุ่ม III Latin Am. & Caribbean

45

92%

4

8%

กลุ่ม IV Asia and Pacific

74

94%

5

6%

กลุ่ม Va Africa

16

89%

2

11%

กลุ่ม Vb Arab States

39

95%

2

5%

8. การสอนภาษาในระบบการศึกษา (Language teaching in education systems) สาธารณรัฐฝรั่งเศสได้นำเสนอการจัดการสอนภาษาแบบพหุภาษาในระบบการศึกษาของ ประเทศสมาชิก ที่ประชุมมีมติให้เชิญชวนประเทศสมาชิกให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการสอน ภาษาให้กับนักเรียนตั้งแต่เด็ก โดยจัดเข้าไว้ในหลักสูตรประถมศึกษาสำหรับนักเรียนและพัฒนาครูผู้สอนให้มี ความชำนาญในการสอนภาษาเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมในด้านความแตกต่างทาง วัฒนธรรม และความเข้าใจอันดีระหว่างกัน นอกจากนี้ยังขอให้ประเทศสมาชิกส่งเสริมให้มีการจัดการสอนอย่างน้อย 2 ภาษาให้แก่นักเรียน(ไม่รวมภาษาราชการของประเทศนั้น ๆ) รวมถึงการสนับสนุนให้มีการสอน mother-tongue language ด้วย

9. โครงการเฉลิมฉลองยูเนสโก ครบวาระ 70 ปี (UNESCO at 70 : Future Prospective)
ปี 2015 ยูเนสโกจะเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีซึ่งที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการเฉลิมฉลองและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของยู เนสโกและการดำเนินการตามเป้าหมายที่ยูเนสโกเน้นย้ำในด้านสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งเป็นวาระแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายหลังปี 2015 ด้วย

10. การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยอนุสัญญาและข้อเสนอแนะ ได้มีการพิจารณาข้อร้องเรียนจำนวน 22 เรื่อง ซึ่งเป็นข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับ 7 ประเทศ ประกอบด้วย อาเซอร์ไบจาน 1 เรื่อง บาเรนห์ 3 เรื่อง อิหร่าน 5 เรื่อง รวันดา 1 เรื่อง เวียดนาม 2 เรื่อง จีน 7 เรื่อง และเอธิโอเปีย 3 เรื่อง ทั้งนี้ข้อร้องเรียนส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน การลิดรอนสิทธิของสื่อมวลชน การกีดกันในเรื่องการให้การศึกษา หรือการทารุณผู้ต้องขัง

11. การกำหนดช่วงเวลาประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก ครั้งที่ 195 – 198 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 195 ระหว่างวันที่ 15 – 29 ตุลาคม 2557 ทั้งนี้ มีบางประเทศให้ข้อคิดเห็นว่าในการประชุมที่ผ่านมาบางครั้งวาระการประชุมมี จำนวนมากทำให้มีการจัดประชุมพิเศษในเวลากลางคืน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าล่าม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก หากในการประชุมครั้งต่อไปสามารถขยายจำนวนวันในการจัดประชุม หรือดูความเหมาะสมของวาระการประชุมจะทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับยู เนสโกได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดวาระการประชุม ดังนี้

- การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยอนุสัญญาและข้อเสนอแนะ ระหว่างวันที่ 15 – 17 ตุลาคม 2557

- ประชุมเต็มคณะ ระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2557 และระหว่างวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2557

- การประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 22 – 27 ตุลาคม 2557

สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 196 – 198 ได้กำหนดเบื้องต้น ดังนี้

- ครั้งที่ 196 ระหว่างวันที่ 8 – 22 เมษายน 2558

- ครั้งที่ 197 ระหว่างวันที่ 14 – 27 ตุลาคม 2558

- ครั้งที่ 198 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558

การเข้าเยี่ยมคารวะของMr. Shigeharu KATO เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก ญี่ปุ่น     

เลขาธิการ คณะกรรมการแห่งชาติฯ ประเทศญี่ปุ่น ได้ขอเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ 8 เมษายน 2557 โดยได้แจ้งว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับองค์การยูเนสโกเป็นเจ้าภาพการ ประชุมโลกว่าด้วยการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2557 ในวาระสิ้นสุดทศวรรษของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Decade of Education for Sustainable Development) การประชุมฯ ประกอบด้วย

1) การประชุมระดับรัฐมนตรี จะจัดขึ้นที่เมือง Aichi-Nagoya ระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งคาดหมายว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดประมาณ 1,000 คน เป็นระดับผู้บริหารระดับสูงของทั้ง ญี่ปุ่นและทั่วโลก วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานที่ผ่านมาของทศวรรษแห่งการศึกษาเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะสามารถดำเนินการภายหลังปี 2557 ในด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมคู่ขนานกับการประชุมฯ ดังนี้

2)  การประชุมโลกว่าด้วยโรงเรียนเครือข่ายเพื่อความเข้าใจอันดี (World Conference on Associated Schools) ระหว่างวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2557 เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะเชิญนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและครูจากญี่ปุ่นและนานาประเทศเข้าร่วม จำนวน 200 คน

3) การจัดเวทีสำหรับเยาวชน วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 โดยผู้จัดจะเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 4 คน และครู 1 คน จำนวน 50 คนทั่วโลก เข้าร่วมโครงการฯ)

4) การจัดประชุม Conference on the centers for ESD ระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤศจิกายน 2557

ex194-05

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ทั้งในระดับทวิภาคีด้านการศึกษา และความร่วมมือกับภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่น เช่น ความร่วมมือกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยหอการค้าญี่ปุ่นได้ดำเนินการสำรวจข้อคิดเห็นของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่น เกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย และระดับการศึกษาและสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานญี่ปุ่น เป็นต้น

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังได้กล่าวถึงความสำคัญในการส่งเสริมโอกาส ทางการศึกษาสำหรับประชาชน ทั้งในเมืองและชนบท โดยปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และเพิ่มผลการสอบ PISA ของไทยให้อยู่ในอันดับที่ดีขึ้น ทั้งนี้ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมีส่วนสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย ข้างต้น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้มีความรู้ใน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

          นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้แจ้งให้ทราบว่าจะการดำเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติอาเซียน บวกสามที่ริเริ่มโดยประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โครงการเคลื่อนย้ายนักเรียน (student mobility) และการประกันคุณภาพ (quality assurance) ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ และจะนำเสนอผลโครงการในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนบวกสาม ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งให้ทราบว่าการเคลื่อนย้ายนักเรียนใน อาเซียนยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับกฎและระเบียบของประเทศต่างๆ ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ได้กล่าวว่าเยาวชนไทยมีความสนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันประเทศไทยและญี่ปุ่นยังได้ดำเนินความร่วมมือในการส่งเสริมการสอน ภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย โดย รัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดส่งครูมาช่วยสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ ดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งปรากฏว่ามีนักเรียนทุนสมัครไปเรียนประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก

การเยี่ยมชมสถาบัน Sciences Po ของฝรั่งเศส

         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบัน Sciences Po เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 สถาบันแห่งนี้ก่อตั้งในปี ค.ศ 1872 มีทั้งสิ้น 7 วิทยาเขต ตั้งอยู่ในเมืองที่เป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส คือ Paris, Reims, Le Havre, Dijon, Nancy, Poitiers และ  Menton  มีผู้สำเร็จการศึกษาประมาณ 53,000 คน ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งสิ้น 13,000 คน มีพนักงานกว่า 950 คน เปิด การศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี - ปริญญาเอก มีเครือข่ายมหาวิทยาลัยอยู่ทั่วโลกกว่า 400 สถาบัน สถาบันแห่งนี้มีการเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษหลายสาขา และมีการสอนด้านภาษา ทั้งสิ้น 25 ภาษา

ex194-03

          Sciences Po เน้นการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพการแข่งขันระดับโลก ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลฝรั่งเศส ส่วนที่เหลือได้จากรายได้ของมหาวิทยาลัย อาทิ ค่าลงทะเบียนการ ดำเนินงานวิจัย การดำเนินโครงการต่าง ๆ เป็นต้น เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นอิสระ (autonomous university) การเรียนในระดับปริญญาตรี เรียน 3 ปี และในปีที่ 3 เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะต้องไปศึกษาในต่างประเทศ ระดับปริญญาโท เรียน 2 ปี มีนักศึกษาทั้งสิ้น 1,400 คน (ร้อยละ 30 เป็นนักศึกษาต่างชาติ จาก 80 กว่าประเทศทั่วโลก) ปริญญาเอก มีนักศึกษาประมาณ 400 คน ในสาขากฎหมาย เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งนี้ จะมีการจัดประเมินการดำเนินกิจการโดยรัฐบาล 5 ปีครั้ง นอกจากนี้สถาบันเปิดการอบรมระยะสั้นสำหรับผู้บริหาร ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้บริหารและผู้อำนวยการจากองค์กรต่าง ๆ เข้ามาฝึกอบรมนอกเวลางาน สถาบันแห่งนี้มีห้องสมุดด้านรัฐศาสตร์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของทวีปยุโรป มีหนังสือเกือบ 1 ล้านเล่ม วารสารกว่า 15,000 ชนิด และเอกสารออนไลน์กว่า 1.4 ล้านชิ้น โดยมีความร่วมมือกับบริษัท Apple นอกจากนี้ Sciences Po ได้ดำเนินโครงการสำหรับผู้ด้อยโอกาสที่ยากจน โดยได้เปิดโอกาสให้นักเรียนที่ยากจน หรืออยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่าง ๆ สามารถเข้าเรียนที่สถาบันแห่งนี้ โดย Sciences Po จะดำเนินการคัดเลือกผู้เข้าเรียนในสถาบันดังกล่าว

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินการของสถาบัน เป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งทุนของประเทศไทย ที่มีนักเรียนจำนวนมากได้สมัครเข้าเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส พร้อมทั้งมีความเห็นว่า สาขาที่มีความเข้มแข็งในฝรั่งเศส ได้แก่ สาขากฎหมาย รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงพร้อมที่จะสนับสนุนให้นักเรียนไทยได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบัน Sciences Po ซึ่งในเรื่องนี้ ผู้อำนวยการสถาบัน Sciences Po มีความยินดีที่จะเดินทางไปเผยแพร่การดำเนินงานของสถาบันให้แก่นักเรียนภาย ใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนในสถาบันแห่งนี้ นอกจากนี้ ยังได้เสนอที่จะมีความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการจัดโครงการฝึกอบรม ระยะ 1 -2 สัปดาห์ ให้แก่ผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการ ในสาขาที่ต้องการ ซึ่งจะได้มีการประสานในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว ต่อไป

สรุปโดย

กลุ่มความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

9 เมษายน 2557