ข่าวความเคลื่อนไหว
พิธีปิดและการมอบรางวัลกิจกรรมการโต้วาทีสิทธิมนุษยชนเยาวชนอาเซียน
ข่าวประชาสัมพันธ์
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในพิธีปิดและการมอบรางวัลกิจกรรมการโต้วาทีสิทธิมนุษยชนเยาวชนอาเซียน
วันพุธที่ 6 กันยายน 2560
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
********************************************
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีปิดและมอบรางวัล “การโต้วาทีสิทธิมนุษยชนเยาวชนอาเซียน” และ “การนำเสนอและโต้วาทีสิทธิมนุษยชนระดับมัธยมศึกษา” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ณ หอประชุมคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวในนามของรัฐบาลไทย ขอบคุณคณะผู้จัดงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศ ที่ร่วมกันจัดกิจกรรมยิ่งใหญ่นี้ได้สำเร็จอย่างงดงาม โดยเชื่อว่ากิจกรรมโต้วาทีจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนในด้านการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ตลอดจนฝึกฝนการทำกิจกรรมร่วมกัน อันนำมาซึ่งการพัฒนา mind set ให้สามารถปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมได้ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ประชาคมอาเซียนแล้วยังสอดคล้องกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกด้านอย่างยั่งยืนด้วย
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบรางวัลให้กับเยาวชนอาเซียนและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจากประเทศไทย จำนวน 4 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย
1. | รางวัลการโต้วาทีสิทธิมนุษยชนอาเซียน จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ |
1.1 เยาวชนจากอินโดนีเซียในการโต้วาทีหัวข้อ ASEAN should NOT establish a Human Rights Court that can issue enforceable judgments | |
1.2 เยาวชนจากฟิลิปปินส์ในการโต้วาทีหัวข้อ Economic growth, and not human rights, must be the key goal of ASEAN development | |
1.3 เยาวชนจากประเทศไทยในการโต้วาทีหัวข้อ To promote women’s rights, a quota system to include equal proportion of women should become mandatory | |
1.4 เยาวชนจากสิงคโปร์ในการโต้วาทีหัวข้อ Citizens of ASEAN should have the right to work in all Member States | |
1.5 เยาวชนจากฟิลิปปินส์ในการโต้วาทีหัวข้อ Environmental damage should be treated as a Human Rights Violation | |
2. | รางวัลภาพยนต์สั้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 รางวัล (รางวัลละ 3 คน) |
3. | รางวัล Best Team Presentation ในกิจกรรมการนำเสนอแบบกลุ่มระดับมัธยมศึกษา ในหัวข้อ ASEAN & Human Rights in My (Our) Mind จำนวน 3 รางวัล (รางวัลละ 6 คน) |
4. | รางวัล Best Speaker และ Second Best Speaker ในกิจกรรมโต้วาทีสิทธิมนุษยชนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 ญัตติ (Motion) ได้แก่ |
4.1 ญัตติที่ 1 To promote women’s rights, a quota system to include equal proportion of women should become mandatory ได้แก่ | |
Best Speaker นางสาว นพเก้า เจริญพระธรรมดี โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย |
|
Second Best Speaker นางสาว ญาณิสรา กอวัฒนา โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา |
|
4.2 ญัตติที่ 2 Environmental damage should be treated as a Human Rights Violation ได้แก่ | |
Best Speaker นางสาว ไปรยา วังปีติ โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา |
|
Second Best Speaker เด็กหญิง มะเคล่า คาแวน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต |
อนึ่ง กิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในกิจกรรมของประเทศไทยในการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีประชาคมอาเซียน ตลอดจนเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอาเซียนให้กับคนไทย และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยแก่เยาวชนอาเซียน โดยประเทศไทยจะได้รายงานการจัดกิจกรรมนี้ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ที่มีกำหนดจัดช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ณ ประเทศไทย ต่อไป
*************************
ข่าวโดย สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ภาพโดย สำนักงานรัฐมนตรี
8 กันยายน 2560