Loading color scheme

ความร่วมมือระหว่างธนาคารพัฒนาเอเชียและกระทรวงศึกษาธิการ

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ
นาย Yasushi Negishi ผู้อำนวยการธนาคารพัฒนาเอเชีย ประจำประเทศไทย
วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องรับรองจันทรเกษม อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
*****************

ADB 14-10-2557


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวต้อนรับนาย Yasushi Negishi ในโอกาสที่เดินทางมากระทรวงศึกษาธิการเพื่อแนะนำตัวและสนทนาความร่วมมือ ระหว่าง ADB และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการร่วมให้การต้อนรับ ได้แก่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นางสุทธศรี วงษ์สมาน) รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายกมล ศิริบรรณ) รศ.ชัยยุทธ ขันทปราบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ (นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล) และนางสาวพุทธชาด ศุภลักษณ์ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเข้าร่วมในการเยี่ยมคารวะ นาย Yasushi Negishi ได้กล่าวขอบคุณที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เกียรติต้อน รับในครั้งนี้ และได้กล่าวถึงการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียว่าประเทศไทย ได้ปรับสถานะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางที่มีประชากรประมาณ 70 ล้านคน และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจรวมทั้งยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่สำคัญยิ่งต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และ ADB เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และต้องการช่วยสนับสนุนการดำเนินการ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ

1. ด้านสาธารณูปโภค เนื่องจากประเทศไทยมีการพัฒนาและขยายเส้นทางคมนาคมจำนวนมากเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
2. ด้านการเงิน การวางแผนการใช้จ่ายเงิน และด้านการธนาคาร
3. ด้านสิ่งแวดล้อม การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะเรือนกระจก และการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการลดปริมาณการใช้รถยนต์
4. ด้านการสนับสนุนประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศในอาเซียนรวมถึงประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นสมาชิกและถือหุ้น ของ ADB ด้วย ทำให้การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ของ ADB เป็นไปโดยสะดวกและเป็นการผลักดันให้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น
5. การสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาศักยภาพของคน และการวิจัยและการพัฒนา
อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้เรื่องการศึกาในส่วนของ ADB รับผิดชอบอยู่นั้นยังเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้นขณะนี้ ADB จึงได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) เพื่อทบทวนสถานการณ์ภาพรวมด้านการศึกษา และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะด้านอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อศึกษาและทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยเพื่อประกอบแนวทางในการริเริ่มความ ร่วมมือของ ADB ในด้านการศึกษา 

ADB-2 14-10-2557
        ในการนี้ นาย Yasushi Negishi ได้กล่าวถึงความร่วมมือที่ได้ดำเนินการด้านการศึกษากับประเทศไทยว่าใน ระหว่างปี 2542 – 2549  ADB ร่วมมือกับสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในรูปของการให้ เงินกู้เพื่อการพัฒนาด้านสังคม โดยนำเงินทุนมาใช้ในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี และการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ จำนวน 59,320,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งในระยะแรกมีการจัดตั้งศูนย์ทั้งสิ้น จำนวน 7 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี
2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยา และการบริหารจัดการสารเคมี
3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และของเสียอันตราย
4. ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุขั้นสูง
5. ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม
6. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
7. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ต่อ มามีการจัดตั้งศูนย์เพิ่มเติม ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 11 ศูนย์ โดยเพิ่มเติมจากเดิม 4 ศูนย์ ดังนี้ 1) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์  2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์  3) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และ 4) ศูนย์ความหลากหลายด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
    รศ.ดร.ชัยยุทธ ขันทปราบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าขณะนี้ อยู่ระหว่างนำเรื่องเสนอกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเห็นชอบการขอสนับสนุนเงินกู้ จาก ADB โดยจะขอกู้เงิน จำนวน 300,000,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาด้านสังคมและพัฒนาการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพิ่มเติมอีก 6 แห่ง นอกจากนี้ สำนักฯ ยังได้ทำข้อตกลงร่วมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่จะมีความร่วมมือระหว่างกัน และยังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้
    นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนของความร่วมมือกับอาชีวศึกษา ว่านอกจาก ADB จะให้การสนับสนุนในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศแล้ว หากสามารถดูแลและให้การสนับสนุนในด้านอาชีวศึกษาในการพัฒนานักเรียนเพื่อให้ สามารถเข้าสู่ภาพอุตสาหกรรมได้จะดีมาก
    นางสาวพุทธชาด ศุภลักษณ์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่าขณะนี้ สอศ. มีการดำเนินโครงการ “Twinning Programme” กับประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อที่จะพัฒนา ศักยภาพนักเรียนอาชีวศึกษาให้มีทักษะอาชีพที่ทัดเทียมกันเพื่อให้นักเรียน สามารถที่จะก้าวไปสู่การเปิดการค้าเสรีอาเซียนในปี 2558 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ผู้อำนวยการ ADB ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ADB มีความเชี่ยวชาญและมีผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำและสนับสนุนด้านนี้โดยขณะ นี้มีประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้ขอรับการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวให้แก่แรงงานของประเทศ ตนเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะอาชีพ ความเชี่ยวชาญและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ หากประเทศไทยมีความสนใจที่จะขอรับการสนับสนุน สามารถยื่นคำขอไปยัง ADB ได้ โดยการให้ความสนับสนุน (Technical Assistance: TA) จะเป็นการสนับสนุนแบบให้เปล่า แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1) Capacity Development Technical Assistant : CDTA) การเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์
2) Policy and Advisory Technical Assistant : PATA) การจัดการนโยบายและให้คำปรึกษา
3) Project Preparatory Technical Assistant : PPTA) การวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ
4) Small Scale Technical Assistant: SSTA) การให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน  โดยจะมีเงินช่วยเหลือประมาณ 225,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้แก่ผู้ที่ร้องขอการสนับสนุน

   ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้แสดงความขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ ได้รับ และขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ประสานในรายละเอียดในการขอรับ การสนับสนุนด้านคำปรึกษาและความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะของนักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพและสามารถ แข่งขันกับตลาดแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่ต้องการพัฒนาด้านอาชีวศึกษาของรัฐบาลด้วย

ADB-3 14-10-2557
****************************

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
14 ตุลาคม 2557