การศึกษาเปลี่ยนแปลงชีวิต
สัญญานปลุกให้ตื่น
สถาบันสถิติแห่งยูเนสโก รายงานว่า ทั่วโลกยังมีผู้ใหญ่อย่างน้อย 750 ล้านคน และเด็กไม่ได้เข้าเรียน 264 ล้านคน ที่ยังขาดทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน โดยเป็นสตรีถึงร้อยละ 63 ของจำนวนทั้งหมด
คนรุ่นใหม่กำลังเป็นส่วนหนึ่งของสถิติดังกล่าว ในขณะที่การลดอัตราเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนมีความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย กลุ่มประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา ยังเป็นภูมิภาคที่มีผู้ไม่ได้เข้าเรียนในทุกช่วงอายุสูงที่สุด โดยเป็นเยาวชน อายุ 15-17 ปี จำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่ง หากนับเพียง 6 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย อินเดีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย ปากีสถาน และซูดาน พบว่าเด็กในวัยประถม ศึกษา มากกว่า 1 ใน 3 ยังไม่ได้เข้าเรียน ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ มีเด็กหญิงในวัยประถมศึกษา กว่า 11 ล้านคนไม่ได้เรียนหนังสือสูงกว่าเด็กชายซึ่งมีจำนวน 9 ล้านคน แม้ว่าจำนวนเด็กหญิงที่ออกจากโรงเรียนกลางคันจะมีอัตราต่ำกว่าเด็กชาย
รายงานการประเมินผลโลกด้านการศึกษาของยูเนสโก เมื่อเดือนมิถุนายน เรื่อง “Reducing global poverty through universal primary and secondary education” กล่าวว่า ประชาชนเกือบ 60 ล้านคนสามารถรอดพ้นจากความยากจน หากผู้ใหญ่เพิ่มระยะเวลาการเข้าเรียนอีกเพียง 2 ปี เมื่อผู้ใหญ่ทั้งหมดจบการศึกษาในระดับมัธยม ประชาชน 420 คนจะรอดพ้นจากความยากจน และจำนวนผู้ยากจนจะลดลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และคิดเป็นจำนวนเกือบ 2 ใน 3 ของกลุ่มประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา
ความล้มเหลวของการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน |
เมื่อเด็กๆ อยู่ในโรงเรียน พวกเขาไม่ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ จำเป็นต่อการสร้างทักษะเพื่อรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเสมอไป รายงานของสถาบันสถิติแห่งยูเนสโก เดือนกันยายน 2560 เปิดเผยว่า “เด็กจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่ง และผู้ใหญ่ทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ” เด็ก 617 ล้านคนและผู้ใหญ่ทั่วโลก ยังขาดความสามารถขั้นต่ำในการอ่านหนังสือ และการคิดคำนวณ กลุ่มประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา มีเด็ก 9 ใน 10 คน ในช่วงอายุ 6-14 ปี ยังไม่มีความสามารถขั้นต่ำ ในทวีปเอเชียกลางและใต้ มีเยาวชน ร้อยละ 81 หรือ 241 ล้านคน เผชิญกับปัญหาดังกล่าว สิ่งนี้ไม่เพียงเป็นผลจากการที่เด็กไม่ได้เข้าเรียน แต่เกิดจากความล้มเหลวที่ไม่สามารถทำให้พวกเขาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูง และเข้าเรียนจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนั้น พวกเขาจึงเรียกร้องให้มีการลงทุนทางการศึกษามากขึ้น เพื่อการบรรลุเป้าหมายการศึกษา ข้อที่ 4 โดยเฉพาะข้อที่ 4.1 ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่สอดรับกับความต้องการ และความมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
การจัดหาเงินทุนในอนาคต
รายงานการประเมินผลโลกด้านการศึกษาของยูเนสโก เรื่อง“Reducing global poverty through universal primary and secondary education” ได้ย้ำถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการลงทุนทางการศึกษา ในขณะที่ยังคงมีความยากลำบากในการจัดหาเงินทุนเพื่อการศึกษา และได้มีการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ พัฒนาคุณภาพการศึกษา รายงานได้เน้นย้ำความจำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนให้แก่ครอบครัวของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
ในขณะที่งบประมาณของรัฐมีภาวะตึงตัว ความช่วยเหลือทางการศึกษานับเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการเข้าถึงการศึกษาในประเทศที่รายได้ต่ำ ในขณะที่ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาโดยทั่วไปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 24 ในปี 2559 โดยมียอดรวมเป็นเงิน 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าปี 2553 ร้อยละ 4 ความช่วยเหลือทางการศึกษาลดลงในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่และโครงการการรู้หนังสือเอกสารเชิงนโยบายจากรายงานการประเมินผลโลกว่าด้วยการศึกษา เผยแพร่ในเดือนมิถุนายน ซึ่งได้อ้างอิงข้อมูลจากคณะกรรมการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา OECD ได้กล่าวว่า“ความช่วยเหลือทางการศึกษากำลังอยู่ในสภาวการณ์ชะงักงัน และประเทศที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือกำลังอยู่ในสภาพลำบาก”
เงินช่วยเหลือที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 กำลังขาดแคลนลง และไม่ได้มีการจัดสรรที่ดีในการให้ความช่วยเหลือแก่พื้นที่มีความต้องการ ขณะนี้ กลุ่มประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกาได้รับความช่วยเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนความช่วยเหลือการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับในปี พ.ศ. 2546 ในขณะที่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้แก่การศึกษาที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในพ.ศ. 2559 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 จากปี 2558 ปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือเพียงร้อยละ 2.7 ของยอดรวมความช่วยเหลือทั้งหมด คิดเป็นจำนวนไม่ถึงครึ่งจากจำนวนที่ต้องการ
รายงานได้กล่าวถึงโครงการข้อเสนอต่อผู้บริจาคที่สำคัญ 3 ประการ เพื่อทำให้ยอดการบริจาคที่ลดน้อยลงได้เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย โครงการ GPE Replenishment campaign โครงการ International Finance Facility for Education เสนอโดยคณะกรรมการนานาชาติเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาด้วยการสนับสนุนทางการเงิน และโครงการกองทุน Education Cannot Wait เพื่อช่วยเหลือการจัดการศึกษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2560 ผู้นำสหประชาชาติ และผู้นำประเทศ ได้ให้คำมั่นที่จะแก้ไขวิกฤตการณ์โลก ในการประชุมระดับสูงของสหประชาชาติ เรื่อง Financing the Future : Education 2030 ซึ่งจัดขึ้น ณ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก โดยมีนอร์เวย์ ฝรั่งเศส มาลาวี และเซเนกัล เป็นเจ้าภาพร่วม และมียูเนสโกเป็นพันธมิตรร่วมกับคณะกรรมาธิการการศึกษา Global Partnership for Education กองทุน Malala และโครงการ ONE Campaign และ UNICEF ในการประชุมฯ ครั้งนี้ นางอีรินา โบโกว่า อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ได้กล่าวไว้ว่า “ความสำเร็จของการพัฒนาเริ่มต้นจากการศึกษา ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของวาระการพัฒนา 2030 ของประเทศต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นแรงกระตุ้นแรงกล้าต่อการบรรลุเป้าหมาย ประเทศต่างๆ ต้องลงทุนทางการศึกษาในจำนวนที่เพียงพอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้แก่คนทุกช่วงวัย และทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างเท่าเทียม ครอบคลุมทุกคน และเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง”
เอกสารนี้ ได้นำเผยแพร่ก่อนการประชุม UN High Level Political Forum ระหว่างวันที่ 10-19 กรกฎาคม 2560 โดยได้เน้นการลดความยากจนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา 2030 โดยให้ความสำคัญต่อการศึกษาเพื่อนำไปสู่การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ และทุกสถานที่ สิ่งดังกล่าวเป็นบริบทสำคัญที่องค์การยูเนสโกและองค์การที่เกี่ยวข้องกำลังร่วมมือกันดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4 ว่าด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จะต้องสร้างความก้าวหน้าในเป้าหมายอื่นๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย |
การเพิ่มความรับผิดชอบในการประเมินผล
รายงานการประเมินผลโลกว่าด้วยการศึกษา ปีค.ศ2017/2018 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 เรื่อง Accountability in Education : Meeting our commitments ได้กล่าวว่า การศึกษาเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคเอกชน “ความรับผิดชอบดังกล่าวรวมถึงวิธีการสอนของครู การเรียนรู้ของนักเรียน และการดำเนินการของรัฐบาล ความเอาใจใสต่อการวางรูปแบบการศึกษา การคำนึงถึงหลักแห่งความเสมอภาค การครอบคลุมทางสังคม และการระลึกถึงคุณภาพอยู่เสมอ” นางอีรินา โบโกว่า กล่าว
รายงานการประเมินผลโลกว่าด้วยการศึกษา “Reducing global poverty through universal primary and secondary education” ได้ส่งสัญญานว่าความช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษา ที่ 4 ไม่เพียงแต่ลดน้อยลงเท่านั้น แต่ยังขาดการ กำหนดเป้าหมายที่ดีในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงสุด ภาพกราฟฟิกดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความตระหนักในประเด็นดังกล่าว |
รายงานได้ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบของรัฐบาลในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพที่มีความเป็นสากล และได้ย้ำว่าความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว มีเพียงหนึ่งในรัฐบาลจาก 6 ประเทศเท่านั้น ที่ได้จัดพิมพ์รายงานประจำปีเกี่ยวกับการประเมินผลการศึกษา องค์กรอิสระที่เข้มแข็ง เช่น คณะผู้ตรวจการรัฐสภา รัฐสภา และสถาบันการตรวจสอบจำเป็นต้องตรวจสอบการใช้จ่ายของรัฐในเรื่องของการศึกษา
การขาดความรับผิดชอบเป็นการเปิดประตูไปสู่การฉ้อราษฎร์บังหลวง และย่อมหมายถึงการที่มาตรฐานการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนประสบความล้มเหลวในการบังคับใช้ รายงานยังคงย้ำถึงความสำคัญของความรับผิดชอบในการแก้ไขช่องว่างและความไม่เสมอภาค และชี้ไปที่สูญญากาศความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผู้บริจาคไม่สามารถให้ความช่วยเหลือตามที่ได้สัญญาไว้ให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
บ่อยครั้งที่ครูต้องแบกความรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของระบบซึ่งพวกเขาไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะช่วยเยียวยาได้ รายงานฯ ยังได้นำเสนอกลไกความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และครูที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือและหลีกเลี่ยงกลไกการลงโทษ โดยเฉพาะผู้ที่ถูกประเมินพฤติกรรมตามมาตรการประเมินในวงแคบ นอกจากนี้ ยังได้ย้ำความจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย การเคารพในเสรีภาพของสื่อเพื่อตรวจสอบการศึกษา และการจัดตั้งสถาบันอิสระเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนต่างๆ
ความเหลื่อมล้ำทางเพศในการเข้าถึงการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา
นักเรียนระดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกมีจำนวน 207 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ระหว่างปี 2000-2014 แต่รัฐบาลและครอบครัวของเด็กๆ ยังคงดิ้นรนที่จะก้าวให้ทันกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น กระนั้น ความเหลื่อมล้ำก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากในการเข้าถึงการศึกษาและการระดมทุน เอกสารเชิงนโยบายซึ่งจัดทำโดยคณะจัดทำรายงานการประเมินผลโลกด้านการศึกษาและสถาบันเพื่อการวางแผนการศึกษาของยูเนสโก ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายน 2560 ได้วิเคราะห์แนวโน้มโลก และกำหนดชุดมาตรการเพื่อที่จะทำให้การจัดการอุดมศึกษาเป็นไปอย่างเสมอภาค และค่าใช้จ่ายไม่แพง
ความเหลื่อมล้ำยังคงปรากฎทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ และยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในด้านเพศ เชื้อชาติ สถานที่ และความมั่งคั่ง ในปี 2556 ประชากรผิวดำและผิวสีในทวีปอเมริกาใต้ จำนวนเพียงหนึ่งในหกที่สามารถเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา เมื่อเปรียบกับชาวผิวขาวที่มีจำนวนมากกว่าครึ่ง
การจัดทำตัวชี้วัดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และมาตรฐานเพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ที่ IBE-ยูเนสโก |
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการศึกษา หรือ IBE ของยูเนสโก เป็นองค์กรนำที่ตกลงใช้ตัวชี้วัดการเรียนรู้ และมาตรฐานเพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ใหม่ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรโลกว่าด้วยการประเมิน ผลการเรียนรู้ (Global Alliance to Monitor Learning : GAML) ซึ่งสถาบันทางสถิติของยูเนสโกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2016 พันธมิตรโลกฯ เป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญเทคนิคจากทั่วโลก เพื่อจัดทำตัวชี้วัดชุดใหม่ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้เพื่อการบรรลุเป้าประสงค์ต่างๆ ตามเป้าหมายที่ 4 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน พันธมิตรดังกล่าว ยังได้ถูกร้องขอให้จัดทำชุดมาตรฐานเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ สมาชิกกว่า 250 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากรัฐสมาชิก นักวิชาการ องค์การระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ได้ร่วมกันจัดทำมาตรฐานและวิธีการที่จำเป็นต่อการวัดผลการเรียนรู้ทั่วโลก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการจัดทำและใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อที่ 4 |
เยาวชนพื้นเมืองน้อยกว่าร้อยละ 1 ในเม็กซิโกได้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เยาวชนจากชนบทมีจำนวนน้อยกว่าเจ็ดเท่าของผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ได้มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ในปี 2557 ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ มีสตรีที่เข้าเรียนในระดับปริญญาตรีจำนวนเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น
รายงานนี้ได้ยกตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในประเทศต่างๆ ที่การอุดมศึกษากำลังขยายตัว และเสนอรูปแบบการ ศึกษาที่มีความหลากหลายมาขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสความเสมอภาคในการจัดการศึกษา มีการนำเสนอเป้าหมายการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีความต้องการโดยใช้กรอบกฎระเบียบเพื่อประกันความเสมอภาค และค่าใช้จ่ายไม่แพง การประเมินผลเพื่อประกันโอกาสในการได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค เกณฑ์การรับสมัครที่มีความหลากหลาย ความร่วมมือในรูปแบบที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือนักเรียน เช่น โครงการเงินกู้ยืม และเงินให้ความช่วยเหลือ และสร้างหลักประกันว่าไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาคนใด ใช้จ่ายเงินมากกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ต่อปีในการชำระเงินคืนให้แก่เงินกู้ยืมทางการศึกษา
ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเพศมีมากเป็นพิเศษในการเข้าเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) สตรีมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 35 ของนักเรียนทั่วโลกที่ลงทะเบียนเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มในระดับอุดมศึกษา นำไปสู่การมีสตรีจำนวนน้อยที่ทำงานในอาชีพที่ต้องการทักษะเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่นำมาหารือในการประชุมวิชาการนานาชาติและเวทีเชิงนโยบายของยูเนสโก เรื่อง Cracking the code : girls’ education in STEM” ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 พร้อมกับการเปิดรายงานของยูเนสโก เรื่อง Cracking the Code : Girls’ and women’s education in STEM”
รายงานได้กล่าวถึงสาเหตุแห่งช่องว่างเชิงทัศนคติทางสังคม และสิ่งกีดกั้นทางการศึกษาที่เด็กผู้หญิงกำลังเผชิญในทุกช่วงขณะของการศึกษา ข้อเสนอของรายงานได้ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายต่างๆ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมครู เนื้อหาการเรียนรู้ วัสดุและอุปกรณ์ รวมถึง สภาพแวดล้อม การเรียนรู้ และกระบวนการทางสังคมในโรงเรียน มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ มากกว่า 300 คน รวมทั้ง สตรีที่มีชื่อเสียงในด้านสะเต็ม เช่น Aditi Prasad วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นกรรมการอำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Robotix
(จากซ้ายมือ) เลขาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐานของมาเลเซีย Tan Sri Dr Khair Bin Mohamad Yusof นางอีรินา โบโกว่า อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก และ รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ และเวทีเชิงนโยบายของยูเนสโก เรื่อง ‘Cracking the code: girls’ education in STEM’ จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เดือนสิงหาคม |
ข่าวดีเกี่ยวกับการรู้หนังสือ
มีสัญญานที่ดีเกี่ยวกับความสามารถในด้านการอ่านของประเทศต่างๆ ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้น รายงานซึ่งได้เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคมที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก โดยสมาคมนานาชาติเพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา International Association for Evaluation of Educational Achievement : IEA) ได้แสดงสถิติในปี 2016 ว่า นักเรียนระดับประถมปีที่ 4 (อายุประมาณระหว่าง 9-10 ปี) จำนวนร้อยละ 96 จากระบบการศึกษามากกว่า 60 แห่ง มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของโครงการประเมินความก้าวหน้าด้านการอ่านระดับนานาชาติ หรือโครงการ PIRLS (Progress in International Reading Literacy Study) นักเรียนหญิงมีผลคะแนนดีกว่านักเรียนชายใน 48 ประเทศ และเขตปกครอง โดยเฉลี่ย 19 คะแนน
เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการการประเมินผลขนาดใหญ่ เช่น โครงการ PIRLS สามารถช่วยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 ได้อย่างไร? ยูเนสโกและ IEA ได้เผยแพร่เอกสารที่ได้จัดทำร่วมกันเรื่อง “Measuring SDG 4: how PIRLS can help” ภายใต้การดำเนินการของ IEA โครงการ PIRLS ได้จัดทำข้อมูลเปรียบเทียบนานาชาติ และแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน ในปี 2559 โดยได้ขยายผลโครงการโดยจัดให้มีการประเมินผลการอ่านทำความเข้าใจแบบออนไลน์ (ePIRLS) ผลการประเมินผล ePIRLS สรุปได้ว่าการเป็นผู้อ่านที่ดีสร้างความได้เปรียบได้ทักษะการเรียนรู้ดิจิตอล โดยร้อยละ 50 ของนักเรียนมีแนวโน้มที่ดีในการเป็นผู้อ่านที่มีความเป็นเลิศ และมีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นสูงในโครงการประเมินความก้าวหน้าด้านการอ่านระดับนานาชาติ
ยูเนสโกได้เฉลิมฉลองวันการรู้หนังสือสากล เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 ภายใต้หัวข้อ “Literacy in a digital world” มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้มีอำนาจตัดสินใจจำนวนมากที่เข้าร่วมงาน ได้ใช้โอกาสนี้ในการสำรวจเทคโนโลยีที่ช่วยปิดช่องว่างการไม่รู้หนังสือ และมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับทักษะที่ต้องการในสังคมในทุกวันนี้ อดีตผู้อำนวยการใหญ่อีรินา โบโกว่า ได้เน้นย้ำว่า “เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ไม่เพียงแต่กำลังเปิดโอกาสใหม่ๆ ต่อการพัฒนาชีวิต และเชื่อมโยงกับโลก แต่พวกเขายังสามารถลดกลุ่มคนที่ขาดแคลนทักษะที่จำเป็น และต้องการความดูแลช่วยเหลือ เช่น การรู้หนังสือ การประชุมเพื่อเฉลิมฉลองวันรู้หนังสือสากล ได้จัดขึ้นภายใต้ 4 หัวข้อสำคัญ คือ การคิดใหม่เรื่องการรู้หนังสือ (Rethinking literacy) การก้าวสู่การปฏิบัติ (Moving to action) การประเมินผลความเสี่ยงและการตอบสนอง (Assessing risks and responses) และการเพิ่มการติดตามประเมินผล (Reinforcing monitoring and assessment) นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดการเฉลิมฉลอง วันการรู้หนังสือสากลในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ อินเดีย อิหร่าน คาซัคสถาน เคนยา โมซัมมิก ปากีสถาน เซเนกัล ประเทศไทย ทานซาเนีย และซูดาน
รางวัลสำหรับการรู้หนังสือได้จัดขึ้นในวันเฉลิมฉลองการรู้หนังสือ ซึ่งช่วยเผยแพร่ความจำเป็นต่อการ สร้างความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มอัตราการรู้หนังสือโลก รางวัลการรู้หนังสือ King Sejong ของยูเนสโก ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ให้การสนับสนุน ได้มอบรางวัลสำหรับการศึกษาเพื่อการรู้ และการฝึกอบรมภาษาแม่ให้ แก่แคนาดาและจอร์แดน รางวัล The UNESCO Confucius Prize for Literacy ที่สนับสนุนโดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มอบให้แก่ 3 โครงการ ซึ่งได้ร่วมดำเนินการกับประชาชนในชนบท และเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงและสตรี จากโคลอมเบีย ปากีสถาน และแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ โครงการริเริ่มเพื่อการรู้หนังสือ ได้แก่ Improved Livelihoods in a Digital World ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างยูเนสโก และบริษัท Pearson ได้นำเสนอกรณีศึกษาว่าการแก้ไขปัญหาดิจิตอลที่ครอบคลุมทุกคนสามารถพัฒนาวิถีชีวิตได้อย่างไร?
การเฉลิมฉลองความหลากหลายทางภาษา
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ยูเนสโกได้ร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส จัดงานเฉลิมฉลองวันสากลว่าด้วยภาษาแม่ภายใต้หัวข้อ “Towards sustainable futures through multilingual education” มีผู้เข้าร่วมการประชุมประมาณร้อยคน โดยได้มีการนำเสนอผลงาน และร่วมหารือเกี่ยวกับการพัฒนาภาษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ได้นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการสอนแบบพหุภาษา และการเข้าถึงการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่ การศึกษาพหุภาษาและการรู้หนังสือ และผลจากการเฉลิมฉลอง 50 ปี แห่งวันรู้หนังสือเกี่ยวกับภาษาแม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน การให้ความสำคัญกับแนวคิดของความหลากหลายทางภาษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความสำคัญเทียบเท่ากับความหลากหลายทางชีวภาพ และประโยชน์ในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับพหุภาษาว่าเป็นสินทรัพย์เพื่อการเรียนรู้ที่ผู้คนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดีขึ้นด้วย
การต่อสู้กับความรุนแรง ทั้งภายในโรงเรียน และนอกโรงเรียน
ความรุนแรงที่เกี่ยวกับโรงเรียน School-related violence (SRV) และการกดขี่ข่มเหงมีผลกระทบในเชิงลบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน เช่นเดียวกับผลที่มีต่ออารมณ์และจิตใจ ได้มีการศึกษาหลายฉบับที่แสดงให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นคนรักเพศเดียวกันถูกรังแก (homophobic bullying) และมักจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการมีความเครียด ความกังวลใจ ความกดดัน ความรู้สึกต่ำต้อย ความต้องการแยกตัว ทำร้ายตัวเอง และมีความคิดในการฆ่าตัวตาย ได้มีการสำรวจการกดขี่ข่มเหงในรูปแบบอื่นๆ ในปี 2559 ด้วยการสอบถามความคิดเห็นของเยาวชน โดยมีเยาวชน 100,000 คน ใน 18 ประเทศที่ตอบแบบสอบถาม ได้กล่าวถึงรูปแบบการถูกข่มเหงในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ในด้านรูปลักษณ์ และเชื้อชาติ หรือชาติกำเนิด
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ได้มีการจัดการประชุมระหว่างประเทศ เรื่อง School Violence and Bullying: From Evidence to Action ซึ่งจัดร่วมกันระหว่างยูเนสโก และสถาบันป้องกันความรุนแรงในโรงเรียนที่กรุงโซล โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้ Research Foundation of Korea Grant ได้มีการเปิดตัวรายงานที่ได้นำเสนอร่างงานวิจัยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และต่ำจำนวน 19 ประเทศ แสดงจำนวนร้อยละ 34 ของนักเรียนอายุ 11-13 ปี ได้ถูกกดขี่ข่มเหงในเดือนที่ผ่านมา และปรากฏว่าร้อยละ 8 ถูกกดขี่ข่มเหงรายวัน จำนวนผู้เข้าประชุมมากกว่า 270 คน จาก 70 ปะเทศ ได้กล่าวถึงวิธีในการต่อสู้กับความรุนแรง และการกดขี่ข่มเหงในโรงเรียน รายงานฯ ได้นำเสนอข้อแนะนำ ประกอบด้วย การส่งเสริมความเป็นผู้นำ การเพิ่มความตระหนัก การส่งเสริมความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของเด็ก และผู้ใหญ่ การเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา การจัดตั้งระบบการรายงาน และการส่งเสริมการเก็บข้อมูลและหลักฐาน นอกจากนี้ ยังมีการแสวงหาแนวทางในการจัดตั้งเวทีการหารือใหม่ๆ เพื่อการติดตามประเมินผลในเรื่องดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา ความรุนแรงในโรงเรียน และการกดขี่ข่มเหงเป็นความรุนแรงต่อสิทธิทางการศึกษา ยูเนสโกได้จัดการประชุมวิชาการ และจัดทำรายงานเพื่อสร้างหลักประกันว่าโรงเรียนและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะคงมีอยู่ และมีความปลอดภัยสำหรับทุกคน คณะทำงานจัดทำรายงานการประเมินผลโลกด้านการศึกษาได้จัดทำผลสำรวจข้ามชาติ และผลสำรวจระดับชาติเกี่ยวกับ SRV และการกดขี่ข่มเหงในเอกสารรายงานฯ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ซึ่งได้มีการจัดทำข้อเสนอว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถส่งเสริมความเข้าใจต่อสิ่งที่เป็นเหมือนการแพร่ระบาดในโลก
ครูเป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินบทบาทในการสร้างความมั่นใจว่าการศึกษานำไปสู่การสร้างความสงบสุขและปราศจากความรุนแรงทั้งในและนอกห้องเรียน ยูเนสโกได้ย้ำความสำคัญของเรื่องดังกล่าว ในการประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกอบรมผู้ฝึกอบรมครูของสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยการการสร้างศักยภาพในแอฟริกา ซึ่งจัดร่วมกันกับสำนักงาน UNESCO Kampala ที่กรุง Entebbe อูกันดา ระหว่างวันที่ 4-8 กันยายน 2560
การประชุมฯ ครั้งนี้ มีวิทยากรที่สนใจเข้าร่วมงาน จำนวน 29 คน จากรัฐเอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา โซมาเลีย ซูดานใต้ และอูกานดา การฝึกอบรมวิทยากรเป็นส่วนสำคัญของโครงการฝึกอบรมครูและการสร้างสันติภาพในจะงอยแอฟริกา และประเทศที่อยู่โดยรอบ จัดโดย สถาบันนานาชาติว่าด้วยการเสริมสร้างศักยภาพในแอฟริกาว่าด้วยการฝึกอบรมครูและการพัฒนาเพื่อการสร้างสันติภาพ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุน
พวกเราจะให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพได้อย่างไร? ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันค้นหาคำตอบ และพบว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นจากการปลูกฝังทักษะของผู้เรียนโดยการสอนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แนวทางนี้ช่วยให้ผู้เรียนสำรวจความรู้และค่านิยมของตน พร้อมทั้งคำนึงมุมมองอื่นๆ รวมถึงมีความเข้าใจผู้อื่นด้วย องค์กรพัฒนาเอกชน Arigatou International ได้บอกถึงวิธีในการสร้างสันติภาพซึ่งต้องดำเนินการแบบเป็นองค์รวม โดยต้องดำเนินกิจกรรมทั้งในโรงเรียน นอกโรงเรียน และในชุมชน ผู้ใหญ่ต้องเป็นต้นแบบดำเนินการ และให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ผู้ประชุมฯ ได้ค้นหาสาเหตุที่เป็นรากเหง้าแห่งความขัดแย้ง ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสภาวะที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งค้นหาวิธีการเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้สร้างสันติภาพ ร่วมหารือเกี่ยวกับบทบาทของจริยธรรม การประสานความร่วมมือ และการตัดสินใจในกระบวนการสร้างสันติภาพในเชิงลึก โดยให้ความรู้และทักษะแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำบูรณาการเข้าไว้ในระบบการศึกษาของตน
การเชื่อมโลกเพื่อสร้างสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 400 คน ผู้ปฎิบัติและผู้กำหนดนโยบาย รวมทั้งครูของเครือข่ายโรงเรียนเพื่อความเข้าใจอันดีของยูเนสโก และเยาวชน 50 คน ได้เข้าร่วมงาน “สัปดาห์สันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของยูเนสโก และบทบาทของการศึกษา” ซึ่งได้จัดขึ้นที่เมืองออตตาวา แคนาดา ระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม 2560 โดยยูเนสโก และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ ประเทศแคนาดา (โดยได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากสภาแคนาดาว่าด้วยศิลปะ สภารัฐมนตรีศึกษาแคนดา กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม การกีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของประเทศญี่ปุ่น ศูนย์พหุนิยมแห่งโลก (The Global Centre for Pluralism) และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งแคนาดา การประชุมเน้นประเด็นการสอนที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4.7
ในช่วงครึ่งสัปดาห์แรกของการประชุมเพื่อการประเมินผลโลก (Global Review Forum) ได้สำรวจ ความก้าวหน้าของโครงการปฏิบัติการโลก (GAP) ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2557 และค้นหาแนวทางการดำเนินการในอนาคต การประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับครูและวิทยากร นอกจากนี้ ในช่วงการประชุมระหว่างวัย (intergenerational session) ในหัวข้อ “Talking Across Generations” ซึ่งมีเยาวชนและเจ้าหน้าที่อาวุโสเข้าร่วมประชุมฯ ที่จัดขึ้นโดยสถาบันการศึกษาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมหาตมะคานที ได้เผยแพร่ในเว็บสตรีม และถ่ายทอดการพูดคุยแบบสดๆ ทางทวิตเตอร์ #UNESCOWeekED.
เพื่อการสนับสนุนงานสัปดาห์ดังกล่าว คณะทำงานจัดทำรายงานการประเมินผลโลกว่าด้วยการศึกษาได้จัดการประกวดภาพเยาวชนเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก ในขณะที่ยูเนสโกยังได้เปิดตัวสิ่งพิมพ์เรื่อง “เป้าหมายการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน : เป้าหมายการเรียนรู้” ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยูเนสโกและสถาบันมหาตมะคานทีว่าด้วยการศึกษาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เปิดตัววิดีโอเกมส์ “World Rescue” เพื่อสร้างความสนใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งแสดงถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาของโลก เช่น การย้ายถิ่น เชื้อโรค การถางป่า ความแห้งแล้งและมลพิษในชุมชน
ในเดือนกันยายน การประชุมนานาชาติว่าด้วยเมืองแห่งการเรียนรู้ครั้งที่ 3 ของยูเนสโก ได้จัดขึ้นที่เมืองคอร์ก ไอร์แลนด์ โดยมีผู้แทนรัฐบาลท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมมากกว่า 700 คน จาก 80 ประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีบทบาทสำคัญของเมืองได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการให้การศึกษาและการเรียนรู้เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เครือข่ายโลกว่าด้วยเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 ประกอบด้วย สมาชิกเมืองมากกว่า 200 แห่งทั่วโลก ในปี 2560 มีเมือง 16 แห่ง ของเครือข่ายได้รับรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก เนื่องจากมีความก้าวหน้าโดดเด่น ในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยเมืองบริสตอล (สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ) เมือง Cmara de Lobos (โปรตุเกส) เมือง Contagem (บราซิล) เมือง Gelsenkirchen (เยอรมนี) เมืองกีซ่า (อียิปต์) เมือง Hangzhou (จีน) เมือง Larissa (กรีซ) เมือง Limerick (ไอร์แลนด์) เมือง Mayo-Balo (แคเมอรูน) เมือง N’Zrkor (กีนี) เมือง Okayama (ญี่ปุ่น) เมือง Pécs (ฮังการี) เมืองซูราบายา (อินโดนีเซีย) เมืองซูวอน (สาธารณรัฐเกาหลี) เมืองตูนิส (ตูนิเซีย) และเมือง Villa Mara (อาร์เจนติน่า)
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 สถาบันมหาตมะคานทีว่าด้วยการศึกษาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เปิดตัวสิ่งพิมพ์และเอกสารเผยแพร่ รวมทั้งเอกสาร #YouthWagingPeace: A youth-led guide on prevention of violent extremism through education (PVE-E) ซึ่งได้จัดขึ้นในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 39 เอกสาร #YouthWagingPeace ได้จัดทำขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนซึ่งทำงานในพื้นที่ความรุนแรง และได้รับผลกระทบจากความรุนแรงดังกล่าว เอกสารได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องให้กลุ่มเยาวชนที่ต้องเผชิญกับความรุนแรง และปัจจัยที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้มีส่วนร่วมดำเนินการ
การใช้ทักษะดิจิตอลและการเข้าถึง
โทรศัพท์แบบพกพาเป็นสมบัติของคนไม่กี่อาชีพ รวมถึงผู้ที่ต้องย้ายถิ่นฐาน ในปี2558 มีประชากรมากกว่า 65 ล้านคน เป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย จำนวนร้อยละ 51 ของประชาชนเหล่านั้นได้แก่เด็ก และส่วนใหญ่อพยพเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งโรงเรียนในประเทศเหล่านี้ต่างล้วนพยายามดิ้นรนในการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอยู่แล้ว สถิติได้แสดงตัวเลขร้อยละ 71 ของบ้านเรือนอาศัยของผู้อพยพที่มีโทรศัพท์พกพา และร้อยละ 39 มีโทรศัพท์ที่เปิดใช้งานอินเทอร์เนต ในการเข้าถึงอินเทอร์เนต โทรศัพท์พกพาเป็นประตูเปิดไปสู่การศึกษาและการเสริมสร้างพลัง
ระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม 2560 มีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 750 คน นักปฏิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีเทคโนโลยีสารสนเทศจาก 60 ประเทศได้มารวมกันที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโกเพื่อเข้าร่วมงานสัปดาห์การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ ปี 2560 (MLW) ซึ่งดำเนินการภายใต้หัวข้อเรื่อง “Education in emergencies and crises” มีการจัดการประชุมกลุ่มย่อยมากกว่า 70 กลุ่ม นิทรรศการ และการอภิปรายกลุ่ม และการประชุมเต็มคณะเพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนผู้เรียน ครู และพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ไร้ถิ่นฐาน ด้วยการเสริมสร้างพลังของเทคโนโลยีพกพา
ในบรรดากิจกรรมคู่ขนาน ได้มีการสาธิตเนื้อหาการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ที่สอนในค่ายผู้ลี้ภัยของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ และนิทรรศการภาพถ่ายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเพื่อแสวงหาความรู้ในระดับอุดมศึกษาในจอร์แดนและเคนยา งานศิลปะโดย Edel Rodriguez และ Yacine Ait Kaci ที่ได้ใช้หัวข้อจากเหตุการณ์และข้อค้นพบจากช่วงต่างๆ ของสัปดาห์การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ 2017
สัปดาห์การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ 2560 จัดขึ้นโดยความร่วมมือกับข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ผู้เข้าประชุม จำนวน 3 ใน 4 ของคนทั้งหมดเป็นผู้เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรก และมากกว่าร้อยละ 97 กล่าวว่า พวกเขาจะบอกต่องานนี้กับผู้ร่วมงาน
ระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2560 ได้มีการจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการศึกษา ค.ศ. 2030 ขึ้นที่เมืองชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้เข้าร่วมประชุมราว 400 คน จากกว่า 80 ประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการใช้ ICT เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ 4 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และศึกษาแนวทางที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปิดช่องว่างดิจิตอลที่มีผลกระทบต่อกลุ่มด้อยโอกาส
การประชุมฯ จัดขึ้นร่วมกันระหว่างองค์การยูเนสโก กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะกรรมการการศึกษาแห่งจังหวัด Shandong โดยสำนักงานการศึกษาเทศบาลเมืองชินเต่าเป็นเจ้าภาพ ภายใต้การสนับสนุนจากกลุ่ม Weidong ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ให้การรับรองแถลงการณ์ชิงเต่า ค.ศ. 2017 ซึ่งได้กล่าวถึงข้อเสนอเชิงนโยบายแก่รัฐสมาชิกสหประชาชาติเพื่อการใช้ ICT ในการจัดการกับสิ่งท้าทายทางการศึกษา และสร้างหลักประกันในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และให้โอกาสการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
การต่อสู้กับการต่อต้านชาวยิว และการใช้วาจาแสดงความเกลียดชัง
ในเดือนมกราคมของทุกปี ยูเนสโกได้จัดงานรำลึกเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากการถูกสังหารหมู่ชาวยิว และเน้นย้ำคำมั่นสัญญาที่จะต่อสู้กับทุกรูปแบบของความไม่อดทนอดกลั้นซึ่งนำไปสู่การใช้ความรุนแรงกับกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย โดยยืนยันที่จะส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการต่อสู้กับลัทธิชาตินิยม และต่อต้านชาวยิว การจัดงานภายใต้หัวข้อ “Educating for a better future: the role of historic sites and museums in Holocaust education” จัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2560 ก่อนวันที่ระลึกสากลของผู้ตกเป็นเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 วาระฉลองวันแห่งการปลดปล่อยค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา
การจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ได้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างยูเนสโก กับอนุสรณ์สถานการทำลายล้าง (Shoah Memorial) สาธารณรัฐฝรั่งเศส และพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา โปแลนด์ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้แทนถาวรฝรั่งเศสประจำองค์การยูเนสโก ผู้แทนถาวรของมณฑลโมนาโคแห่งยูเนสโก และเมติน อาร์ดิติ ผู้แทนพิเศษปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมแห่งยูเนสโก
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ในระหว่างการประชุมซึ่งยูเนสโกได้ร่วมจัดกับมูลนิธิ Engie นักศึกษารุ่นเยาว์ และครูประวัติศาสตร์ได้ร่วมกันค้นหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามที่ท้าทายว่า ทำอย่างไรที่จะสามารถ หยุดยั้งคำพูดแห่งความเกลียดชังลงได้? นอกจากนี้ ยูเนสโกได้ร่วมมือกับบริษัท Les Bons Clents จัดฉายภาพยนตร์สารคดี เรื่อง “In Search of the Last Music” กำกับการแสดงโดยอเล็กซานเดอร์ วาเลนติ
ในการกล่าวคำปราศรัย และการประชุมโต๊ะกลมได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาเกี่ยวกับแหล่งประวัติศาสตร์ของการสังหารหมู่และการประหัตประหารกัน รวมถึงแหล่งอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ ประจักษ์พยาน และแหล่งการศึกษา ซึ่งนับวันมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้คนที่รอดชีวิตลดน้องลงทุกขณะ ในระหว่างพิธีปิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560 ได้มีการจัดแสดงคอนเสิร์ต โดยมาธา อาร์เจริช (นักเปียโน) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงก้องโลก และ Ivry Gitlis ทูตสันถวไมตรีของยูเนสโก สักขีพยานโดย Raphael Esrail ประธานของกลุ่มผู้ถูกเนรเทศออกนอกประเทศเอาชวิทซ์ และ Anne Catherine Dutoit นักแสดงผู้อ่านบทประพันธ์ของ ผู้รอดพ้นจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และ Elie Wiesel ผู้ได้รับรางวัลโนเบล นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงกระดูกที่แสดงถึงความรุนแรงของนาซีในนิทรรศการวัตถุที่ถูกขุดค้นใกล้ๆ ในบริเวณใกล้กับฌาปนสถานของเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา
การศึกษาเกี่ยวกับการสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ |
เราจำเป็นต้องเสริมสร้างพลังของชนรุ่นใหม่ด้วยการให้บทเรียนเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยให้เด็ก และลูกหลานของเรา มีเครื่องมือป้องกันความไม่อดทนอดกลั้น ความจงเกลียดจงชัง ความดันทุรัง การต่อต้านชาวยิว ลัทธิชาตินิยม และการมีอคติให้หมดสิ้นไป นางอิรีนา โบโกว่า อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกได้กล่าวไว้ ในขณะเปิดตัวรายงาน “การศึกษาเกี่ยวกับการสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ซึ่งเป็น คู่มือเชิงนโยบายสำหรับนักการศึกษาเกี่ยวกับการสังหารหมู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการโหดร้ายป่าเถื่อน ในระหว่างการประชุม Plenary Assembly of the World Jewish Congress ที่กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560 เอกสารชุดแรกได้จัดทำขึ้นภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา เพื่อใช้เป็นคำตอบและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยในการถกประเด็นเรื่องดังกล่าวในชั้นเรียน |
**************************************
translated by : Mrs. Kanittha Hanirattisai